ประโยชน์สำคัญของ Toluene ที่ใช้ในอุตสาหกรรม
ประโยชน์สำคัญของ Toluene ที่ใช้ในอุตสาหกรรม
Toluene (โทลูอีน) สารเคมีชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มักนำไปใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมต่างๆ
อย่างที่ทราบกันดีว่าสารเคมีหลายชนิดที่มีอยู่หลากหลายชนิดนั้น มีความสำคัญและประโยชน์มากมายกับอุตสหากรรมต่างๆ ในการผลิตสิ่งของทั้งอุปโภคบริโภคและในบทความนี้ พี.ไว จึงขอนำเสนอสารเคมีอีกชนิดหนึ่งที่มีปรโยชน์มากมายต่อุตสาหกรรมหลากหลายชนิด ที่ชื่อว่า โทลูอีน ซึ่ง Toluene นี้มีหลายชื่อที่รู้จักกันเช่น Toluol (โทลูออล), Methylbenzol (เมทธิลเบนซอล), Methyl-Benzene (เมทธิลเบนซีน), Methacide (เมธาไซด์) หรือ Phenylmethane (ฟีนิลมีเทน) นั่นเอง
ลักษณะและคุณสมบัติของ “Toluene”
โทลูอีน เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่เป็นสารประกอบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในน้ำมันดิบและในต้นโทลู ผ่านกระบวนการทางปิโตเลี่ยมหรือปิโตรเคมีเป็นหลัก มีลักษณะเป็นของเหลว ใสไม่มีสี และระเหยได้อย่างรวดเร็ว มีกลิ่นหวานเฉพาะตัวคล้ายทินเนอร์, เบนซินหรือสีทาบ้าน เป็นสารประกอบอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ที่นิยมนำมาเป็นทั้งสารตั้งต้นและเป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น สี, ทินเนอร์, กาวซิลิโคน, ยาง, หมึกพิมพ์, แล็กเกอร์ หรือเครื่องฟอกหนัง เป็นต้น
ประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจของ “Toluene”
แรกเริ่มเดิมทีสันนิษฐานว่า โทลูอีน เกิดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1837 จากนักเคมีชาวโปแลนด์ ฟิลิป วอลเตอร์ (Filip Walter) ได้แยกสารประกอบออกมาผ่านการกลั่นน้ำมันสน และตั้งชื่อว่า Retinnaphte อีก 4 ปีต่อมาในปี ค.ศ. 1841 นักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อ Henri Etienne Sainte-Claire Deville ได้แยกสารไฮโดรคาร์บอนออกจากยาหม่องของ Tolu สารประกอบนี้เป็นสารสกัดอะโรมาติกจากต้น Myroxylon balsamum ในเขตร้อนของโคลอมเบีย ซึ่งสารประกอบที่แยกได้มานี้มีความคล้ายคลึงกับ Retinnaphte ของฟิลิป วอลเตอร์ จึงเรียกสารประกอบนี้ว่า ไฮโดรคาร์บอนเบนโซอีน
และในอีก 2 ปีถัดมา Jöns Jacob Berzelius เสนอชื่อสารประกอบชนิดนี้ใหม่ในชื่อ “Toluene” เนื่องจากมีนักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อ Auguste Cahors ได้แยกสารประกอบจากไม้ที่กลั่นด้วยไฮโดรคาร์บอน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มีความคล้ายกับน้ำมันเบนซินของ Henri Etienne Sainte-Claire Deville ดังนั้น Auguste Cahors จึงตั้งชื่อสารประกอบที่ได้นี้ว่า โทลูอีน ในปีค.ศ. 1850 โดยในยุคแรกๆ ของการผลิตสารเคมีชนิดนี้มักจะมาจากอุตสาหกรรมถ่านหินเป็นหลัก แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่2 จึงเริ่มมีการผลิตโทลูอีนจากกระบวนการของการผลิตปิโตรเลี่ยมมากขึ้น และเป็นที่นิยมมาจนทุกวันนี้
การผลิต “Toluene” สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท
ผลิตจากกระบวนการ Catalytic Reforming ซึ่งเป็นกระบวนการหลักเพื่อผลิต gasoline ที่มีค่าออกเทนสูงในการกลั่นปิโตรเลียม อีกทั้งยังมีบทบาทต่อการผลิตสารอะโรมาติกส์ในอุตสาหกรรมเคมีอีกด้วย
กระบวนการ Pyrolysis Gasoline ในกระบวนการผลิตเอทิลีนและโพรไพลีน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการนำไปเป็นส่วนผสมเพื่อเพิ่มค่าออกเทนในการผลิตน้ำมันเบนซิน อีกทั้งยังสามารถนำไพแก๊สไปเข้ากระบวนการแยกสาร อะโรเมติกส์ออกจากสารประกอบอื่น ๆ
4 ประโยชน์สำคัญของ “Toluene” ที่ใช้ในอุตสาหกรรม
- Toluene ใช้เป็นตัวทำละลายในหลากหลายอุตสาหกรรม : อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วว่าหน้าที่หลักของโทลูอีนคือตัวทำละลายในอุตสาหกรรมสำคัญหลายประเภท ได้แก่
- อุตสาหกรรมสีพ่นรถยนต์
- อุตสาหกรรมสีทาบ้าน, สีสเปรย์
- อุตสาหกรรมหรืองานพิมพ์ภาพสี ที่ใช้ได้ทั้งเป็นตัวทำละลายสีและใช้ล้างขจัดคราบสีได้อีกด้วย
- อุตสาหกรรมสีย้อมผ้าและฟอกหนัง
- อุตสาหกรรมผลิตยางและพลาสติก
- อุตสาหกรรมเรซินและกาว
- อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง คือเป็นส่วนผสมในน้ำยาล้างเล็บเพื่อช่วยละลายสารอื่นๆ เช่น เรซินและพลาสติไซเซอร์ที่นำใช้ทำผลิตภัณฑ์สำหรับเล็บ
- Toluene ใช้เป็นส่วนผสมของสารเคมีหรือส่วนประกอบของอุตสาหกรรมต่างๆ : โทลูอีนมีความสำคัญอย่างมากในอุตสาหกรรมยานยนต์ เพราะสามารถเป็นสารเติมแต่งน้ำมันเบนซินที่สามารถใช้ปรับปรุงค่าออกเทนสำหรับเชื้อเพลิงที่ใช้ในรถแข่ง, เครื่องบินและรถยนต์อื่นๆ ยิ่งค่าออกเทนสูงขึ้น เชื้อเพลิงก็จะยิ่งมีความทนทานต่อการเผาไหม้มากขึ้น โดยร้อยละ 86 โทลูอีนถูกใช้ป็นเชื้อเพลิงให้กับเครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จทั้งหมดในฟอร์มูล่าวันในช่วงทศวรรษ 1980 เป็นผู้บุกเบิกครั้งแรกโดยทีมฮอนด้า แต่เกือบ 100% นั้นใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์สองจังหวะและสี่จังหวะ นอกจากนั้น Toluene ยังใช้เป็นส่วนผสมของยางมะตอย ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกย้อมหนังเทียม, การเคลือบกระดาษ และเป็นส่วนประกอบที่พบบ่อยมาในสารต่างๆ เช่น น้ำมันเบนซิน กาว และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ใช้ทำความสะอาด
- Toluene ใช้เป็นการสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมเคมีหลายชนิด : โทลูอีนถูกใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมเคมีหลายชนิด เช่น เบนซีน, ไซลีน, ผลิตกรดเบนโซอิค, ยารักษาโรค, น้ำหอม, เครื่องสำอาง ไปจนถึงยาฆ่าแมลงและวัตถุระเบิด เป็นต้น
- ใช้ในการผลิตสารเคมีชนิดอื่นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ : เช่น
- ผลิตน้ำมันเบนซินและเชื้อเพลิงอื่นๆ จากน้ำมันดิบ
- โทลูอีนมักใช้ในการผลิตสี, ยาง, แล็คเกอร์ กาว และสารยึดติด เพื่อช่วยให้สารอื่นๆ แห้ง ละลายหรือทำให้บาง
- ใช้ในกระบวนการผลิตเบนซิน, ไนลอน, พลาสติกและโพลียูรีเทน
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
“Toluene” เป็นอันตรายหรือไม่?
โทลูอีนจัดเป็นสารอันตรายประเภทที่ 3 ตามประกาศ พ.ร.บ. วัตถุอันตราย ปี 2535 เพราะเมื่อเกิดการสูดดมสารเคมีชนิดนี้เข้ามาสู่ระบบทางเดินหายใจ อาจทำให้รู้สึกมึนงงหรือถ้าสูดดมมากจนเกินไปอาจจะทำลายระบบประสาทและสมอง จนมีอาการประสาทหลอนได้ หรือหากสัมผัสทางผิวหนังมากจนเกินไปจะทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบบวมแดง นอกจากนั้นหากได้รับสาร Toluene โดยการกลืนเข้าไปจะเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องและมึนงง
ฉะนั้น การปฏิบัติตัวของผู้ปฏิบัติงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับสารชนิดนี้ ก็ควรจะควรสวมถุงมือยาง รองเท้าบูท ผ้าปิดจมูก แว่นตาป้องกันสารเคมีและสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดทุกครั้ง นอกจากนั้นข้อควรระวังในการใช้งาน Toluene เพิ่มเติมก็คือ สารเคมีชนิดนนี้จัดเป็นสารไวไฟ มีจุดวาบไฟที่ต่ำที่ 6 องศาเซลเซียส และลุกติดไฟได้เองที่ 535 องศาเซลเซียส จึงมีโอกาสติดไฟและระเบิดได้ง่าย ฉะนั้นการเก็บรักษาสารเคมีชนิดนี้จึงควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีความร้อนและเปลวไฟ
ระดับความเข้มข้นแค่ไหนของ Toluene ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
- ความเข้มข้น 50-100 ppm ถือเป็นระดับที่ยังไม่เห็นความผิดปกติหลังการสัมผัส แต่ในบางรายก็อาจเกิดอาการเหนื่อยล้าหรืออ่อนเพลียได้ง่าย
- ความเข้มข้น 200-400 ppm ในระยะเวลา 8 ซั่วโมง เกิดอาการเหนื่อยล้าและความคิดสับสน ชาที่ผิวหนังและกระวนกระวาย
- ความเข้มข้น 500-700 ppm ในระยะเวลา 3 ซั่วโมง จะอาการเหมือนระดับ 200-400 ppm เริ่มมีอาการที่หนักและนานขึ้น
- ความเข้มข้น 800 ppm เพียงแค่เวลาเล็กน้อย จะมีอาการมึนงงในทันที เวียนศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน และอาจจะหนักไปจนหมดสติ
- ความเข้มข้นมากกว่า < 800 ppm อาการจะเหมือนกับระดับ 800 ppm แต่อาจมีภาวะแทรกซ้อนคือโลหิตจางและตับโต
ทั้งนี้ Toluene จัดอยู่ในประเภทสารละลายไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon Solvent) ซึ่งถูกควบคุมโดยกรมสรรพสามิต ผู้ซื้อและผู้ขายต้องยื่นคำขออนุญาต (สค.02) จึงจะสามารถทำการซื้อและขายได้ สามารถสอบถามหรือศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.excise.go.th
หากคุณกำลังมองหา Toluene หรือเคมีภัณฑ์ชนิดอื่นๆ สำหรับอุตสาหกรรมของคุณ บริษัท พี.ไว จำกัด คือผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายเคมีภัณฑ์ที่มีคุณภาพและได้มาตราฐานจากผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งคุณสามารถมั่นใจในคุณภาพ
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://pwai.co.th/
ออฟฟิศ: 02-938-0515-6 / 02-513-8398 / 02-513-2639 / 02-512-2111
อีเมล: sales@pwai.co.th
Line@: @pwaishop