เคมีภัณฑ์

วิธีการใช้เคมีภัณฑ์ให้ปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

วิธีการใช้เคมีภัณฑ์ให้ปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

ศึกษาข้อมูลการใช้งานและรายละเอียดของการใช้เคมีภัณฑ์

เคมีภัณฑ์

แม้ว่าสารเคมีจะมีประโยชน์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์และอุตสาหกรรมต่างๆ อยู่มาก แต่ขึ้นชื่อว่าเคมีแม้มีคุณประโยชน์มากมายแต่ก็มีอันตรายอยู่ด้วย ตามที่ Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemical (GHS) ที่เป็นระบบการจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก ผ่านการสื่อสารความเป็นอันตรายของสารเคมีด้วยฉลาก และข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (Safety data sheet, SDS) ได้จำแนกประเภทของสารเคมีหรือ เคมีภัณฑ์ ที่เป็นอันตรายออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ความเป็นอันตรายทางกายภาพ 17 ประเภท , ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ 10 ประเภท และความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม 2 ประเภท

ซึ่งความพิษหรืออันตรายจากสารเคมี เมื่อสัมผัสหรือเข้าสู่ร่างกายมนุษย์จะมีอาการที่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มอาการได้ ดังนี้

  • สารที่เป็นอันตรายต่อระบบการหายใจ : สารเคมีจำพวกฝุ่นทรายหรือฝุ่นถ่านหิน จะทำให้เกิดเยื่อพังผืดจนทำให้ปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ อีกทั้งยังทำให้ความจุอากาศในปอดลดน้อยลง ทำให้เกิดอาการหอบง่าย
  • สารที่เป็นอันตรายต่อระบบประสาท : หรือเป็นสารที่ทำให้เสพติดได้ เช่น สารระเหยได้ต่างๆ อย่าง แอลกอฮอล์, เบนซินอะซิโตน, สารอีเทอร์ หรือ สารคลอโรฟอร์ม เมื่อได้สูดดมหรือดื่มกินเข้าไปจะมีอาการปวดหัว มึนงงหรือวิงเวียนศีรษะ เป็นต้น
  • สารที่เป็นอันตรายต่อการสร้างโลหิต : อย่างเช่นสารตะกั่วที่จะไปกดไขกระดูกที่ทำหน้าที่ผลิตเม็ดเลือดแดง จึงทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงลดน้อยลงกว่าปกติ ซึ่งทำให้เกิดโรคโลหิตจางได้
  • สารที่ทำให้เกิดการระคายเคือง : เมื่อสัมผัสกับสารเคมี แล้วจะเกิดอาการแสบ คัน หรือเกิดการพุผอง ซึ่งตัวอย่างของเคมีภัณฑ์เหล่านี้ได้แก่ กรดต่างๆ คลอรีน, แอมโมเนีย และซัลเฟอร์ไดออกไซด์
  • สารที่เป็นอันตรายต่อกระดูก : สารเคมีจำพวกฟอสฟอรัส และแคลเซียม เมื่อร่างกายมนุษย์ได้รับสารเหล่านี้เข้าไปแล้วจะทำให้กระดูกเปราะแตกง่าย หรือทำให้เสียรูปทรงได้เลย
  • สารที่เป็นอันตรายต่อโครโมโซม : สารกัมมันตภาพรังสี, ยาฆ่าแมลง หรือสารโลหะบางชนิด เมื่อมนุษย์ได้รับสารเคมีเหล่านี้เข้าไปก็จะทำไปอันตรายโครโมโซมของมนุษย์ในระดับพันธุกรรม ทำให้เกิดความปกติที่จะปรากฏในรุ่นลูกรุ่นหลานของคน
  • สารที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็ง : สารบางชนิด อาทิ สารหนู, สารแอสเบสตอส (Asbestos) หรือ แร่ใยหิน, สารเวนิลคลอไรด์ และเบนซิน เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการหายใจ, การดื่มกินเข้าไป หรือแม้กระทั่งการสัมผัสผ่านผิวหนัง สารเหล่านี้จะทำให้ร่างกายสร้างเซลล์ขึ้นมาเรื่อยๆ เกินความจำเป็น จนทำให้เป็นเนื้องอกที่อาจจะพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็ง หรือถ้าไปสะสมที่ปอดก็อาจจะส่งผลให้ปอดอักเสบจนกลายเป็นมะเร็งปอดในที่สุด
  • สารที่ทำให้ทารกเกิดความพิการ : สารเคมีหรือเคมีภัณฑ์บางชนิด เช่น ยาธาลิโดไมด์, สารตัวทำละลายบางชนิด หรือยาปราบศัตรูพืชบางชนิด เมื่อสะสมอยู่ในร่างกายแล้ว สำหรับผู้หญิงหากกำลังตั้งครรภ์อยู่อาจทำให้ทารกที่เกิดออกมาเกิดความพิการ มีอวัยวะไม่ครบ 32 ประการได้ หรือเป็นโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ได้
  • สารที่ทำให้หมดสติ : เช่น สารคาร์บอนไดออกไซด์, สารไนโตรเจน และสารไซยาไนด์ เคมีภัณฑ์ชนิดนี้เมื่อเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์แล้ว จะเข้าไปแทนที่ออกซิเจนจึงทำให้หมดสติได้(ขอบคุณข้อมูลจาก : สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ)

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

เมื่อสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ มีทั้งประโยชน์และโทษจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้กับมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้ ฉะนั้นการใช้งานแต่ละครั้ง ผู้ปฏิบัติงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับสารเคมี จึงควรทราบวิธีการใช้งานที่ถูกต้องและปลอดภัย

  1. ข้อปฏิบัติตัวสำหรับผู้ปฏิบัติงาน : เพราะผู้ปฏิบัติงานคือคนที่ต้องได้สัมผัสใกล้สารเคมีมากที่สุด จึงต้องปฏิบัติตามข้อกำนหอย่างเคร่งครัดเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดเสียหายได้ ดังนี้
    • ผู้ปฏิบัติงานจะต้องได้รับการฝึกอบรม เพื่อให้ทราบถึงวิธีการปฏิบัติงานกับสารเคมีให้ถูกต้องและปลอดภัยก่อนปฏิบัติงานจริง
    • ผู้ปฏิบัติงานควรศึกษารายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี โดยสามารถศึกษาข้อมูลสารเคมีนั้นๆได้จาก Safety Data Sheet (SDS) หรือ เอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี ซึ่งเป็นเอกสารที่แสดงข้อมูลของสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์เกี่ยวกับลักษณะความเป็นอันตราย พิษ วิธีใช้ การเก็บรักษา การขนส่ง การกำจัดและการจัดการอื่นๆ เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับสารเคมีนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย
    • ผู้ปฏิบัติงานควรสวมเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์นิรภัยทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน เช่น ใส่เสื้อกาวน์แขนยาวตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน, สวมถุงมือและแว่นตานิรภัย นอกจากนั้นยังไม่ควรใส่เครื่องประดับหรือรองเท้าแตะในระหว่างการปฏิบัติงาน เป็นต้น
    • ผู้ปฏิบัติงานควรทราบถึงวิธีการแก้ไขในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ อาทิ เส้นทางการออกจากห้องปฏิบัติงาน, วิธีปฏิบัติตนเมื่อสัมผัสกับสารเคมีอันตราย รวมถึงการกำจัดสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ชนิดนั้นๆ ด้วย
    • ผู้ปฏิบัติงานจะต้องให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยและสุขอนามัยของตนเอง ดังนี้คือ
          • หลีกเลี่ยงการสูดดมไอระเหยของสารเคมี
          • ห้ามทดสอบชนิดของสารเคมีโดยการดมกลิ่น อย่างเด็ดขาด
          • เมื่อเลิกใช้งานในห้องปฏิบัติการ ควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้ง
          • ควรจัดเก็บสารเคมีไว้ในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทดี ห่างจากแหล่งที่สามารถกำเนิดประกายไฟได้
          • เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว ควรปิดฝาภาชนะที่บรรจุสารเคมีให้แน่นทุกครั้ง
          • ควรหมุนเวียนผู้ปฏิบัติงานหรือลดชั่วโมงการทำงานของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีที่เป็นอันตรายให้น้อยลง
  2. ข้อปฏิบัติสำหรับการใช้เคมีภัณฑ์
    • ห้ามใช้เปลวไฟในการให้ความร้อนแก่ของเหลวหรือสารเคมีไวไฟ หรือในขบวนการกลั่น (Distillation)
    • ระมัดระวังการจุดไฟในห้องปฏิบัติการและดับไฟทันทีเมื่อเลิกใช้งาน
    • ไม่ควรจุดไฟ หรือทำให้เกิดประกายไฟในบริเวณที่มีสารเคมีที่ไวไฟ
    • ควรแยกเก็บสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ที่ไวไฟ ไว้ในตู้เก็บสารไวไฟโดยเฉพาะ
    • การผสมหรือถ่ายเทสารเคมีใดๆ ควรกระทำในห้องปฏิบัติการหรือหากจะต้องใช้ความร้อนแก่สารเคมีก็ควรทำภายในตู้ดูดควัน
    • อ่านคู่มือและเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เมื่อต้องปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง
  3. ข้อปฏิบัติสำหรับการจัดเก็บและแยกประเภทของสารเคมีให้ถูกต้อง : เพราะสารเคมีหลายตัวอยู่ใกล้กันจะทำปฏิกิริยาต่อกัน จนบางครั้งอาจเกิดอันตรายร้ายแรงถึงขั้นไฟไหม้หรือการระเบิดได้เลยทีเดียว ฉะนั้น การจัดเก็บสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์แต่ละชนิดให้ถูกต้อง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องพึงระวังให้มากนั่นเอง โดยสารเคมีที่ไม่ควรเก็บไว้ร่วมกันได้แก่
    • สาร Acid ไม่ควรเก็บร่วมกับ Cyanide salts, Cyanide solution
      Sulfide Salts, Sulfide Solution, ผงฟอกสี (Bleach) เพราะจะทำให้เกิดก๊าซที่เป็นพิษรุนแรง
    • Oxidizing Acid (e.g., nitric acid) ไม่ควรเก็บร่วมกับ Alcohol, Solvent เพราะอาจจะทำให้เกิดไฟไหม้
    • Alkali Metals (e.g., sodium, potassium) ไม่ควรเก็บร่วมกับ น้ำ เพราะจะทำให้เกิดก๊าซไฮโรเจนที่ติดไฟได้
    • Oxidizing Agents ไม่ควรเก็บร่วมกับ Reducing Agents เพราะจะทำให้เกิดเพลิงไหม้หรือระเบิดได้
    • Hydrogen Peroxide ไม่ควรเก็บร่วมกับ Acetone, Acetic Acid และ Sulfuric Acid เพราะหากมีความร้อนร่วมด้วยจะทำให้เกิดการระเบิดได้
  4. ข้อปฏิบัติของห้องปฏิบัติการและทางผ่านของสารเคมีและเคมีภัณฑ์
    • ควรติดตั้งระบบระบายอากาศ
    • ควรทำความสะอาดบริเวณที่ปฏิบัติงานทุกครั้งหลังเลิกงาน
    • ไม่ควรใช้เครื่องไฟฟ้าที่มีความสูง เช่น ไมโครเวฟและตู้เย็น ในห้องปฏิบัติการ
    • ห้ามนำอาหาร เครื่องดื่ม บุหรี่หรือเครื่องสำอาง เข้ามาในห้องปฏิบัติการ
    • เพิ่มระยะทางในห้องปฏิบัติการให้ผู้ปฏิบัติห่างจากแหล่งสารเคมี
    • บำรุงรักษาสถานที่ปฏิบัติการให้สะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ
    • หมั่นตรวจหาปริมาณสารเคมี เพื่อเทียบกับค่ามาตรฐานความปลอดภัยจะต้องปรับปรุง หากสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานความปลอดภัยให้รีบแก้ไขทันที
  5. ข้อปฏิบัติในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นของผู้ที่ได้รับสารเคมี : โดยสามารถแบ่งวิธีของการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ตามลักษณะของการสัมผัสกับสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ ได้ดังนี้
    • การรับสารเคมีที่สัมผัสกับผิวหนัง : ถ้าสารเคมีเป็นกรดให้รีบถอดเสื้อผ้าออกก่อน แล้วล้างผิวหนังบริเวณที่ถูกสารเคมี ด้วยน้ำสะอาด ล้างให้มากที่สุดนานอย่างน้อย 10-15 นาที เพื่อให้สารเคมีเจือจาง
    • การรับสารเคมีที่สัมผัสกับดวงตา : ล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที โดยเปิดเปลือกตาขึ้นให้น้ำไหลผ่านตาอย่างน้อย 15 นาที ป้ายขี้ผึ้งป้ายตา แล้วรีบนำส่งแพทย์โดยเร็ว
    • การรับสารเคมีจากการสูดดม : ให้ย้ายผู้ที่ได้รับสารนั้นไปที่มีอากาศบริสุทธิ์ ประเมินการหายใจและการเต้นของหัวใจ ถ้าไม่มีให้ช่วยทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการ CPR (แต่ห้ามใช้ปากประกอบกับผู้ป่วยเด็ดขาด)

ทั้งหมดนี้คือ 5 วิธีการใช้เคมีภัณฑ์อย่างไรให้ปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ซึ่งสิ่งสำคัญอย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วว่าผู้ปฏิบัติงานจะต้องได้ศึกษาข้อมูลการใช้งานและรายละเอียดของสารเคมีชนิดนั้นๆ ให้ถูกต้องเหมาะสม รวมถึงทราบถึงอันตรายและแนวทางป้องกันก่อนปฏิบัติงานเสมอ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายแก่คน ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อม จากความประมาทในการใช้งานได้นั่นเอง

สำหรับผู้ที่กำลังมองหาสารเคมีภัณฑ์ สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมสี, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, เหล็ก, ยาง, สิ่งทอ, การพิมพ์ อาหารและเครื่องดื่ม หรือเครื่องสำอาง ฯลฯ บริษัท พี.ไว จำกัด คือบริษัทผู้นำเข้าและจำหน่ายเคมีภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน จากผู้ผลิตที่มีมาตราฐานชั้นนำทั่วโลก เพื่อให้คุณได้เลือกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมได้หลากหลาย

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://pwai.co.th/
ออฟฟิศ: 02-938-0515-6 / 02-513-8398 / 02-513-2639 / 02-512-2111
อีเมล: sales@pwai.co.th
Line@: @pwaishop