อัพเดทเทรนด์อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ในปี 2024

อัพเดทเทรนด์อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ในปี 2024

อัพเดทเทรนด์อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ในปี 2024

แนวโน้มความสำคัญกับอุตสาหกรรมเคมีสีเขียว

อัพเดทเทรนด์อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ในปี 2024

 

ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง มีการใช้ทรัพยากร, เคมีภัณฑ์ และพลังงานมากมายในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี ซึ่งสวนทางกับการตะหนักรู้และนโยบายรณรงค์การทำธุรกิจ รวมถึงการหันมาใส่ใจการอุปโภคบริโภคแบบยั้งยืน ที่จะต้องลดการใช้พลังงานต่างๆ ที่ทำลายสิ่งแวดล้อมให้น้อยลง

ในปี 2024 นี้เราน่าจะได้เห็นเทรนด์ใหม่ๆ ของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ที่จะเน้นไปนวัตกรรมและความยั่งยืนมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป อาทิ การผลิตวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ, การพัฒนาพอลิเมอร์ชนิดใหม่ที่มีลักษณะสิ่งแวดล้อมสูง หรือการผลิตวัสดุที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้มากขึ้น, การผลิตสารเคมีที่สามารถตอบสนองต่อเงื่อนไขแวดล้อมและสังคมได้ รวมไปถึงการพัฒนากระบวนการผลิตที่ใช้พลังงานจากแหล่งทดแทนเช่น พลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานลม หรือการลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้นและทั้งหมดนี้ที่เราได้กล่าวมา เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ ที่เรียกว่าปิโตรเคมี

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี คืออะไร?

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีคือกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต และการใช้สารเคมีที่ได้มาจากปิโตรเลียม ซึ่งปิโตรเคมีเป็นกระบวนการขั้นตอนของการผลิตสารเคมีจากน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ก่อนการนำเคมีภัณฑ์ ต่างๆ ได้แก่ กลุ่มพลาสติก เส้นใยและยางสังเคราะห์ ฯลฯ มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งในการผลิตวัสดุสิ่งทอ, เครื่องประดับ, อาหารและยา รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิตพลังงานต่างๆ

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

เคมีภัณฑ์ที่สำคัญของปิโตรเคมีนั้นมี 2 กลุ่มคือ

  1. กลุ่มโอเลฟินส์ (Olefin) ได้แก่ เอทิลีน (Ethylene) และ โพรพิลีน (Propylene) : สารเคมีในกลุ่มนี้จะใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติกชนิดต่างๆ เช่น Polyvinyl Chloride (PVC) หรือ Polyethylene (PE) โดยกระบวนการสร้างพลาสติก PVC มี Methyl Ethyl Ketone และ Triethylene Glycol เป็นส่วนสำคัญ นั่นเอง
  2. กลุ่มอะโรเมติกส์ (Aromatic) : จะทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายและใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารเคมีอื่นๆ เป็นวัตถุดิบหลักสำหรับอุตสาหกรรมขั้นกลางและขั้นปลาย เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์, สิ่งทอ, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เฟอร์นิเจอร์ รวมถึง อุตสาหกรรมสีและการตกแต่ง เป็นต้น โดยสารเคมีที่สำคัญของกลุ่มอะโรเมติกส์นี้ ได้แก่ โทลูอีน (Toluene) ที่นิยมใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมสี ทินเนอร์ กาว ยาฆ่าแมลง ฯลฯ ไซลีน (Xylene) นิยมใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเส้นใย, เส้นด้าย,ขวดใส่อาหารและถุงใส่อาหารร้อน ฯลฯ

มุมมองของวิจัยกรุงศรีที่ได้คาดการณ์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปี 2024 นี้ว่า การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการเปิดประเทศของจีน จะช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจภายในประเทศในปี 2566 และส่งผลให้ความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีของไทยในปี 2567 และ 2568 แข็งแกร่งขึ้น (ที่มา: https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/petrochemicals/petrochemicals/io/io-petrochemicals-2023-2025) และอย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วในข้างต้นว่า ในปี 2567 นี้เราจะได้เห็นผู้ผลิตไทยบางรายอาจเปลี่ยนมาใช้การผลิตพลาสติกชีวภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ซึ่งความจริงแล้วประเทศไทยมีแหล่งวัตถุดิบชีวมวลภายในประเทศมากมาย (เช่น มันสำปะหลัง ปาล์ม และอ้อย) ที่สามารถนำมาใช้เป็นทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้

สอดคล้องกับรายงานของ Deloitte ที่เผยแนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีทั่วโลกในปี 2567 ว่าแนวโน้มที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ในปีนี้คืออุตสาหกรรมเคมีสีเขียว บริษัทต่างๆ กำลังมุ่งสู่มาตรการที่ยั่งยืน รวมถึงการลด/ยุติการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การทำความสะอาดน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น บริษัท Dow Corporate เป็นหนึ่งในบริษัทที่ส่งออกและจัดจำหน่ายเคมีภัณฑ์ระดับโลก โดยมี Dowanol เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เป็นตัวทำละลายไกลคอลอีเทอร์ (Glycol Ether) กำลังทำงานร่วมกับ New Energy Blue เกี่ยวกับพลาสติกหมุนเวียน และกระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกาได้จัดสรรเงินจำนวน 3.2 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้เพื่อเร่งการลดการปล่อยคาร์บอน

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

เคมีภัณฑ์ประเภทใดบ้างที่จะได้มีแนวโน้มการเติบโตในปี 2024

  1. สารเคมีกลุ่มพอลิเมอร์ต่างๆ : บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC) ผู้ผลิตปิโตรเคมีรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย คาดยอดขายปี 2567 เพิ่มขึ้น 10% บริษัทคาดได้รับประโยชน์จากความต้องการโพลีเมอร์ทั่วโลกที่สูงขึ้น และประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้น เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากจีนและอินเดีย และแม้ว่าเศรษฐกิจในสหรัฐฯ และยุโรปจะชะลอตัวก็ตาม เพราะ พอลิเมอร์ (Polymer) คือสารเคมีที่ประกอบไปด้วยหน่วยสารเคมีที่ซ้ำกันมากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้มากมาย เช่น
    • Polyethylene : เป็นพอลิเมอร์ที่ใช้ในการผลิตพลาสติกที่พบได้มากในชีวิตประจำวัน เช่น ถุงพลาสติก, ขวดน้ำ, ข้าวของเครื่องใช้และอุปกรณ์ในบ้านมากมาย
    • Polypropylene : ใช้ในการผลิตพลาสติกที่มีความแข็งแรงและคงทน มักนำมาใช้ในการผลิตกล่องหีบห่อ, ขวดน้ำ, ถาดอาหารและอุปกรณ์เครื่องครัว
    • Polyethylene Terephthalate : ใช้ในการผลิตในรูปแบบของใยพลาสติก (Polyester) ที่นำมาทำเสื้อผ้า, หมอนและขวดน้ำ
    • Polyvinyl Chloride หรือ PVC : มี Methyl Ethyl Ketone และ Triethylene Glycol เป็นส่วนสำคัญในการผลิต PVC ซึ่งนำมาใช้การผลิตท่อพีวีซี, ซีเมนต์และผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ
    • Polystyrene : ใช้ในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า, กล่องหีบห่อและถ้วยใส่อาหาร
    • Polyolefin: นับเป็นกลุ่มของพอลิเมอร์ที่รวมถึงPolyethylene และ Polypropylene ที่สามารถนำไปการใช้งานทั้งในการผลิตพลาสติกและท่อน้ำได้
  2. สารเคมีในกลุ่มที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ขนาดเล็กยังคงเติบโต : ยานพาหนะขนาดเล็กจะยังคงเป็นตลาดที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมเคมี โดยมีมูลค่าของการใช้เคมีมากกว่า 4,000 ดอลลาร์ต่อคัน แม้ว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมายอดขายรถยนต์จะลดลงเพราะการแพร่ระบาดของโรค แต่เมื่อมีกระแสเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามามีบทบาทในปัจจุบันจึงทำให้มีความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าจากผู้บริโภคทั่วโลกมากขึ้น ฉะนั้น เคมีภัณฑ์ ที่มีความเกี่ยวข้องการในผลิตรถยนต์ไฟฟ้า อย่าง Silicone oil เพื่อเป็นสารเคลือบผิวแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์หรือใช้เป็นของเหลวสำหรับประกอบคลัตช์พัดลมเพื่อระบายความร้อน อีกทั้งยังเป็นสารเคมีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ตลาดของอุตสาหกรรมยานยนต์มีความต้องการน้ำมันซิลิโคนมากขึ้นทั่วโลก ซึ่งคาดว่าจะสวนทางกับ Base oil ที่เป็นน้ำมันพื้นฐานที่ใช้ในการผลิตน้ำมันหล่อลื่น รวมถึงน้ำมันเบนซินและดีเซล ซึ่งไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งผู้บริโภคทั่วโลกกำลังลดปริมาณการใช้รถยนต์จากเครื่องยนต์สันดาปแบบดั้งเดิมลงเรื่อยๆ
  3. เคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ : เนื่องจากแนวโน้มของเทรนด์การเป็นอุตสาหกรรมเคมีสีเขียวจากทั่วโลก PTTGC และ Cargill Inc ซึ่งมีฐานอยู่ในสหรัฐอเมริกาตกลงร่วมกันพัฒนาโรงงานผลิต PLA มูลค่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่ง Polylactic Acid หรือพลาสติก PLA เป็นพอลิเมอร์ชีวภาพที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เพราะสามารถผลิตได้จากน้ำตาล และสามารถนำเคมีภัณฑ์ ชนิดนี้มาใช้ผลิตสิ่งของเครื่องใช้ได้มากมาย ตั้งแต่ แคปซูลกาแฟ, บรรจุภัณฑ์อาหาร ไปจนถึงเส้นใย 3D Printing, หน้ากากอนามัย และเครื่องใช้ต่างๆ ในบ้าน เป็นต้น

นอกจากนั้น ในอุตสาหกรรมยานยนต์จะหันมาใช้ Silicone oil กันมากขึ้น Data Bridge ได้วิจัยตลาดของน้ำมันซิลิโคนทั่วโลกที่คาดว่าจะสูงขึ้นถึง 7.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2572 เพราะสามารถนำไปใช้ในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เช่น ซีล ปะเก็น โอริงและน้ำมันหล่อลื่น อีกทั้งคุณสมบัติที่ให้ความเสถียรทางความร้อนสูง, การหล่อลื่นที่ดีเยี่ยม กันน้ำ รวมถึงความต้านทานต่อสารเคมีและอุณหภูมิที่สูงมาก จึงช่วยเพิ่มความทนทานและสมรรถนะของชิ้นส่วนยานยนต์ อีกทั้งการยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและย่อยสลายได้ทางชีวภาพได้อีกด้วย

ในอนาคต อุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ จะต้องเน้นการพัฒนานวัตกรรมที่ยั่งยืน และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน่อยลง ตลอดจนการตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเรื่องการเทคโนโลยีต่างๆ การลงทุนในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมจะเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้บริษัทของคุณเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนี้

หากคุณสนใจที่จะสั่งซื้อเคมีภัณฑ์ ไปใช้กับบริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรมของคุณ ไม่ว่าจะเป็น Methyl Ethyl Ketone, Xylene,Triethylene Glycol, Dowanol, Base oil หรือ Silicone oil บริษัท พี.ไว จำกัด เราเป็นบริษัทผู้นำเข้าเคมีภัณฑ์มากมาย ที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรมที่มีความหลากหลาย ทั้ง อุตสาหกรรมสี, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, เหล็ก, ยาง, น้ำมันอุตสาหกรรม, สิ่งทอ, การพิมพ์, อาหาร, เครื่องดื่มและเครื่องสำอาง โดยเคมีภัณฑ์ต่างๆ ที่เรานำเข้านั้น มีมาตรฐานจากผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

คลิกดูรายละเอียดสินค้า

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://pwai.co.th/
ออฟฟิศ: 02-938-0515-6 / 02-513-8398 / 02-513-2639 / 02-512-2111
อีเมล: sales@pwai.co.th
Line@: @pwaishop

Leave a Reply

Your email address will not be published.