ผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับงานอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง?

ผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับงานอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง?

วัตถุดิบเคมีภัณฑ์ที่มีความหลากหลายและมีคุณภาพ สำหรับอุตสาหกรรม

ถ้าจะพูดถึงงานอุตสาหกรรมแล้ว “เคมีภัณฑ์” ถือจะเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญที่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันจนแทบจะแยกออกจากกันไม่ได้ เพราะกระบวนการของอุตสาหกรรมแทบจะใช้สารเคมีเพื่อแปลงวัตถุดิบ (เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ อากาศ น้ำ และแร่ธาตุ) เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น สารทำความสะอาดในงานอุตสาหกรรม, พลาสติก, สี, ยารักษาโรค, ผงซักฟอก, วัตถุระเบิด, เส้นใยในการทอผ้า, สีย้อมผ้า หรือยาฆ่าแมลง เป็นต้น

และในบทความนี้ P.wai ขอยกตัวอย่างสารเคมีภัณฑ์ที่เป็นทั้ง สารประกอบ สารตั้งต้น สารทำละลาย และสารหล่อลื่น ที่นำมาใช้ในงานอุตสาหกรรม เพื่อนำมาผลิตอุปกรณ์หรือสิ่งของต่างๆ ที่เป็นประโยชน์มากมายแก่มนุษย์ ดังต่อไปนี้

  1. Acetone (อะซิโตน) ที่ใช้สำหรับงานอุตสาหกรรม : สารเคมีที่เป็นของเหลวชนิดหนึ่ง
    ระเหยง่าย ไม่มีสี ละลายได้ดีใน น้ำ เอทานอล อีเทอร์ ฯลฯ จัดเป็นสารไวไฟชนิดหนึ่ง ติดไฟได้เองที่ 465 องศาเซลเซียส อะซิโตนสามารถสกัดได้จากธรรมชาติและการสังเคราะห์ทางเคมีจากปิโตรเลียม
    ประโยชน์ของ Acetone ในกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทดังนี้คือ
    • ใช้สำหรับเป็นสารตัวทำละลาย ทั้ง อุตสาหกรรมเคมี ผลิตยา ผลิตสี หมึกพิมพ์
    น้ำมันขัดเงา กาว แลคเกอร์ เครื่องสำอาง และอุตสาหกรรมพลาสติก
    • ใช้เพื่อชำระล้าง เครื่องมือช่าง เช่น ลูกกลิ้ง พู่กัน แปรง หรือล้างมือช่าง รวมถึง
    ผลิตเป็นน้ำยาล้างเล็บที่สาวๆ ใช้กัน
    • ใช้สำหรับเป็นสารตั้งต้น ในการผลิตพลาสติกหลายชนิด เช่น โพลีคาร์บอเนต โพลียูรีเทนและเรซิน
  2. Isopropyl Alcohol (ไอโซโพรฟีล) ที่ใช้สำหรับงานอุตสาหกรรม : เป็นสารเคมีที่เป็นแอลกอฮอล์ ไม่มีสี ไวไฟ มีกลิ่นแรงและระเหยง่าย สำหรับงานอุตสาหกรรม ไอโซโพรฟีล ใช้เป็นตัวทำละลายในการผลิตยา และผสมน้ำปริมาณ 60 – 75% เพื่อใช้ฆ่าเชื้อโรค เช่น น้ำยาล้างบาดแผลหรือล้างมือ นอกจากนั้น Isopropyl Alcohol (ไอโซโพรฟีล) ยังใช้เป็นตัวทําละลาย ในแล็กเกอร์, ทินเนอร์, หมึกพิมพ์ และกาว อีกด้วย
  3. Ethyl Alcohol (เอทิลแอลกอฮอล์) ที่ใช้สำหรับงานอุตสาหกรรม : อย่างที่ทราบกันดีว่าเอทิลแอลกหรือ Ethanol (เอทานอล) นั้นเป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งที่รับประทานได้ และยังสามารถฆ่าเชื้อโรค แบคทีเรีย เชื้อราและไวรัสได้ จึงมักใช้เอทานอลในการยับยั้งและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคบนพื้นผิวของวัสดุต่างๆ
    Ethyl Alcohol (เอทิลแอลกอฮอล์) เกิดจากกระบวนการหมักกับวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น กากน้ำตาลหรือมันสำปะหลัง ฉะนั้นจึงสามารถใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมได้มากมาย เช่น
    • ใช้เป็นสารตัวทำละลาย สำหรับชแล็ค, ไขมัน, น้ำมัน, กรดไขมัน, Castor Oil,Ethyl Cellulose, Polyvinyl Acetate, Acetaldehyde Resin, Alkali Hydroxides, etc.
    ใช้ในการเตรียมสารต่างๆ เช่น เอทิล อีเทอร์, กรดน้ำส้ม, น้ำส้มสายชู (Vinegar), เอทิล อะซิเตต, เอทิล คลอไรด์และพวกเอสเทอร์ต่างๆใช้เป็นเชื้อเพลิง
    • ใช้เป็นสารชะล้าง เช่น ล้างหมีกพิมพ์ ล้างฮาร์ดดิส ล้างแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เช่นเดียวกับเมทิล แอลกอฮอล์
    ใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าของอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ทำเครื่องสำอาง, เภสัชกรรม, น้ำหอม, น้ำยาทำความสะอาด, พลาสติก, ยาขัดพื้น เป็นต้น
    • ใช้สกัดสมุนไพร เช่น กัญชง, กัญชา หรือ ใบกะท่อม
  4. สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

  5. Ethylene Glycol (เอทิลีนไกลคอล) ที่ใช้สำหรับงานอุตสาหกรรม : เป็นสารเคมีที่ป็นของเหลวไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีรสหวาน นิยมใช้เป็นสารป้องกันน้ำแข็งตัว (Antifreeze) และสารหล่อเย็น (Coolant) โดยเราสามารถแบ่งประเภทการใช้งานอุตสาหกรรมของเอทิลีนไกลคอลได้ ดังนี้
    • อุตสาหกรรมการทำน้ำยาหล่อเย็นและถ่ายเทความร้อน : เพื่อเป็นสารป้องกัน
    การแข็งตัวในสารหล่อเย็น เช่น รถยนต์, ระบบปรับอากาศ หรือ เครื่องทำความเย็น
    • อุตสาหกรรมยานยนต์ : นำมาใช้เพื่อนำพาความร้อนสำหรับสันดาปภายใน
    รถยนต์ นอกจากนั้นยังสามารถช่วยยับยั้งการกัดกร่อนของหม้อน้ำรถยนต์ได้อีกด้วย
    • อุตสาหกรรมพลาสติก : Ethylene Glycol (เอทิลีนไกลคอล) ถูกนำไปใช้เป็น
    วัตถุดิบหลักในการผลิตเส้นใยโพลีอีสเตอร์หรือเส้นใยสังเคราะห์ และเรซิ่น ที่ใช้ทำพลาสติกสำหรับบรรจุเครื่องดื่มหรืออาหาร เป็นต้น
  6. Dipropylene glycol (ไดโพรพร็อพพิลีน ไกลคอล) ที่ใช้สำหรับงานอุตสาหกรรม : จัดเป็นเคมีภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายกับ โพรพิลีน ไกลคอลและเอทิลีนไกลคอล คือเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และถูกนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเครื่องสำอาง เช่นเดียวกัน โดยไดโพรพร็อพพิลีน ไกลคอล นั้นนำมาใช้เป็นตัวทำละลายในน้ำหอม เพื่อช่วยกระจายกลิ่นน้ำหอม สบู่หรือเครื่องสำอางบางชนิด และเป็นสารที่ช่วยหล่อลื่น ลดความหนืดให้เนื้อครีมหรือเจลมีความลื่นมากยิ่งขึ้นนอกจากนั้นยังถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสามารถพลาสติกและยางเรซิน โดยใช้เป็นสารเริ่มต้นในกระบวนการทำโพลียูรีเทน หรือเป็นส่วนผสมในน้ำมันไฮดรอริกและน้ำมันไฮดรอริก
  7. Glycerine (กลีเซอรีน) เป็นสารเคมีภัณฑ์ที่นิยมนำมาใช้เป็น สารหล่อลื่น เพราะเป็นของเหลวที่ไม่มีสีและมีความหนืด สามารถละลายน้ำได้ดีในแอลกอฮอล์และน้ำ สังเคราะห์ได้จาก Propylene และจากการหมักน้ำตาลด้วย โซเดียม ไบซัลเฟทและยีสต์ มีคุณสมบัติเคมีที่หลากหลาย จึงสามารถนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารเคมีอื่น ๆ ได้แต่ที่นิยมมากที่สุดก็คือ นำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ในกระบวนการผลิตเครื่องสำอางต่างๆ ยาสีฟัน, แชมพู และที่นิยมมากที่สุดก็คือ สบู่ เพราะกลีเซอรีนเป็นส่วนช่วยหล่อลื่นเหมือน มอยซ์เจอร์ไรเซอร์ เพื่อปกป้องผิวไม่ให้แห้งและดูดซับความชื้นเมื่อสัมผัสกับอากาศ ช่วยขจัดความสกปรกได้นอกจากนั้น Glycerine ยังถูกนำใช้งานได้หลากหลาย เช่น
    •  ใช้เป็นสารละลาย ในอุตสาหกรรมต่างๆ เพราะสามารถละลายในน้ำและแอลกอฮอล์ได้ดี
    •  ใช้ในอุตสาหกรรมเคมี สำหรับเป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารประกอบโพลิออล(Polyol) สำหรับผลิตโฟม
    อุตสาหกรรมพลาสติก เพื่อให้มีความอ่อนตัวและยืดหยุ่นได้ดี
    •  ใช้ฉีดพ่นหรือเคลือบผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อรักษาความสด ป้องกันการระเหยของน้ำ
    • ใช้เป็นส่วนผสมอาหาร เช่น สารเพิ่มความหวาน ลูกอม สุรา ใช้เป็นสารตั้งต้นทางปีโตรเคมีต่างๆ
  8. Methylene Chloride (เมทิลีนคลอไรด์) มักใช้เป็นตัวทำละลายที่มีประโยชน์มากในหลายๆ กระบวนการทางเคมีและในอุตสาหกรรมอาหาร มีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี ระเหยได้ มีกลิ่นหอม นอกจากนั้นยังสามารถใช้ในการสกัดคาเฟอีนจากกาแฟ และใช้ผลิตสารปรุงแต่งกลิ่นหรือรส ได้อีกด้วย
    ประโยชน์และการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมของ Methylene Chloride สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ
    • สารทำละลาย : ในอุตสาหกรรมยา, อุตสาหกรรมน้ำยาลอกสี และอุตสาหกรรมการทำโฟม
    • สารสำหรับชะล้าง : ใช้สำหรับชะล้างแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการหยอดยูริ เทน เช่น เครื่องซักผ้า, ใช้ล้างบล็อกพื้นรองเท้า บล็อกสกรีนเสื้อ, ใช้ล้างคราบน้ำมันและกาวต่างๆ
  9. Polybutene (โพลีบิวเท็น) เป็นสารเคมีที่มีลักษณะเหนียวใสคล้ายกาว ไม่มีสีและกลิ่นสามารถใช้เป็นส่วนผสมในน้ำมันหล่อลื่นบางชนิด, ใช้เป็นสารผนึก, สารยึดเกาะ, สารเคลือบผิว หรือใช้เป็นสารเติมแต่งในโพลีเมอร์และน้ำมันหล่อลื่นเพื่อเพิ่มความหนืดฉะนั้นโพลีบิวเท็น จึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในหลายๆ อุตสาหกรรม เช่น
    น้ำมันหล่อลื่น ในอุตสาหกรรมรถยนต์และเครื่องจักร
    • ใช้เพิ่มความยืดหยุ่นในฟิลม์ยืด Wrapping Film, Stretching Film ซึ่งใช้รัดสินค้าบนพาเลท
    • ใช้เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับการผลิตยาง เช่น ยางรถยนต์, ขอบประตูรถยนต์และตู้เย็น
    • ใช้ผลิตเทปกาวบรรจุภัณฑ์, เทปพันสายไฟ และกาวร้อน
    • ใช้ในการผลิตน้ำมันเครื่องยนต์ 2 จังหวะของมอเตอร์ไซค์
    • ใช้เป็นฉนวนบรรจุใน capacitor คือตัวเก็บประจุซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่เก็บพลังงานในสนามไฟฟ้า
    • ใช้ผลิตกาวดักหนู, แมลงสาป, เจลไล่นก
  10. Diethylene Glycol (ไดเอทิลีน ไกลคอล) ในภาคอุตสาหกรรมนิยมนำมาใช้เป็นสารทำละลายกับสารหลายชนิดที่มีคุณสมบัติละลายได้ในน้ำ เช่น แอลกอฮอล์, อีเทอร์, Acetone และ Ethylene Glycol ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกนำมาใช้ใน 2 อุตสาหกรรมหลักๆ คือ อุตสาหกรรมพลาสติก ในการผลิตพลาสติกและผลิตโพลีเอสเตอร์เรซิ่น อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง จำพวกโลชั่นต่างๆ นอกจากนั้นยังสามารถใช้เป็นน้ำมันเบรกและน้ำมันหล่อลื่นได้
  11. Toluene (โทลูอีน) เคมีภัณฑ์ชนิดที่เป็นของเหลวใส มีกลิ่นคล้ายเบนซิน มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น เมทิลเบนซีน, เมทิลเบนซอล หรือฟีนิลมีเทน ใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมเคมีหลายชนิด เช่น ผลิตกรดเบนโซอิค ยารักษาโรค ซัคคาริน เบนซีน ฟีนอล น้ำหอม เครื่องสำอาง ยาฆ่าแมลง และวัตถุระเบิด

นอกจากนั้นยังใช้ตัวทำละลายในอุตสาหกรรมสีพ่นรถยนต์ สีทาบ้าน สีสเปรย์ สีย้อม น้ำมันขัดเงา เรซิน แลกเกอร์ กาว ยาง พลาสติก และพรมน้ำมัน รวมถึงอุตสาหกรรมฟอกย้อม หนังเทียม การเคลือบกระดาษ และเป็นส่วนผสมยางมะตอย เป็นต้น

และนี่คือผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ทั้งหมด ที่มีประโยชน์สำหรับนำมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ของงานอุตสาหกรรมต่างๆ ภายในประเทศไทยและทั่วโลก หากคุณกำลังมองหาวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ที่มีความหลากหลายและมีคุณภาพ สำหรับอุตสาหกรรมของคุณ บริษัท พี.ไว จำกัด คือบริษัทผู้นำเข้าและจำหน่ายเคมีภัณฑ์ที่มีมาตรฐานและการใช้งานที่มีความหลากหลาย

 

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://pwai.co.th/
ออฟฟิศ: 02-938-0515-6 / 02-513-8398 / 02-513-2639 / 02-512-2111
อีเมล: sales@pwai.co.th
Line@: @pwaishop