Methylene Chloride

Methylene Chloride (เมทิลีนคลอไรด์) กับการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ

Methylene Chloride (เมทิลีนคลอไรด์) กับการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ

พี.ไว จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย Methylene Chloride สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

Methylene Chloride

Methylene Chloride (เมทิลีนคลอไรด์) เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่เป็นสารประกอบของออร์กาโนคลอรีน โดยมีลักษณะเป็นของเหลวใสไม่มีสี ระเหยง่าย ไวต่อความร้อนและไฟ มีกลิ่นหอมหวานคล้ายคลอโรฟอร์ม นิยมนำมาใช้เป็นตัวทำละลายและสามารถนำมาผสมกับตัวทำละลายอินทรีย์ได้หลายชนิด เป็นสารเคมีที่ผลิตและนำเข้ามาในสหรัฐอเมริกาโดยมีการใช้งานประมาณ 260 ล้านปอนด์ต่อปี (ที่มา : epa.gov)

เมทิลีนคลอไรด์ (Methylene Chloride) มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อในวงการเคมีภัณฑ์เช่น ไดคลอโรมีเทน (Dichloromethane) หรือเมทิลีนไดคลอไรด์ (Methylene Dichloride) ซึ่งเหล่านี้ก็คือสารเคมีชนิดเดียวกัน เมทิลีนคลอไรด์ ถูกนิยมนำมาใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรมที่ช่วยในการทำความสะอาดได้ทั้ง ขจัดสีและคราบไขมันจากอุตสาหกรรมการผลิตบางประเภท อีกยังเป็นตัวทำละลายในสเปรย์ต่างๆ และการสกัดคาเฟอีนออกจากกาแฟหรือโกโก้ รวมถึงการผลิตยาและการสกัดสารประกอบทางเภสัชกรรมหลายชนิด

Methylene Chloride (เมทิลีนคลอไรด์) กับการใช้งานในอุตสาหกรรม

  1. Methylene Chloride ในอุตสาหกรรมการผลิตข้าวของเครื่องใช้หลายชนิด : หน้าที่หลักของสารเคมีชนิดนี้ส่วนใหญ่จะใช้เป็นตัวทำละลายสีหรือเคลือบเงา ซึ่งสามารถนำไปผลิตเป็นข้าวของเครื่องใช้ที่คุณสามารถพบได้ง่ายในชีวิตประจำวัน เช่น
    • ใช้เป็นตัวทำละลายในห้องปฏิบัติการ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตโฟม, พลาสติกและฟิล์ม
    • ใช้เป็นสารออกฤทธิ์ในน้ำกำจัดสี (Paint remover) สามารถนำมาล้างสีออกจากภาพวาด หรือใช้เป็นน้ำยาลอกสีสำหรับชิ้นงานที่เป็นโลหะ
    • ใช้เป็นส่วนผสมของกาว ที่ใช้เป็นน้ำยาเชื่อมกับซีเมนต์ อะคริลิคและพลาสติก
  2. Methylene Chloride ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม : ใช้เป็นตัวทำละลายในการสกัดคาเฟอีนจากใบชา เมล็ดกาแฟหรือโกโก้ที่ยังไม่คั่วได้ นอกจากนั้นยังนำไปใช้ในการแปรรูปเครื่องเทศ หรือสร้างสกัดบางอย่างสำหรับเบียร์และรสชาติอื่นๆ ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
  3. Methylene Chloride ในอุตสาหกรรมการแพทย์ : สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตยา ในห้องปฏิบัติการยังใช้เมทิลีนคลอไรด์ในการสกัดสารเคมีสำหรับทางการแพทย์เช่น สเตียรอยด์, ยาปฏิชีวนะและวิตามิน รวมถึงการใช้เมทิลีนคลอไรด์เป็นน้ำยาทำความสะอาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยไม่ทำให้เกิดปัญหาการกัดกร่อนหรือความเสียหายใดๆ
  4. Methylene Chloride ในอุตสาหกรรมการขนส่ง : ใช้ย่อยสลายพื้นผิวของโลหะหรือใช้เป็นสารหล่อลื่นของชิ้นส่วนยานพาหนะต่างๆ เช่น เครื่องบินหรือรางรถไฟ การย่อยสลายผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ยานยนต์ เช่น การกำจัดปะเก็น หรือการเตรียมชิ้นส่วนโลหะสำหรับปะเก็นใหม่ อาจมีเมทิลีนคลอไรด์เข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นต้นแม้กระทั่งไอของเมทิลีนคลอไรด์ ก็ยังสามารถนำมาใช้เพื่อกำจัดคราบน้ำมันและไขมันออกจากชิ้นส่วนทรานซิสเตอร์รถยนต์มอเตอร์ดีเซล และส่วนประกอบของเครื่องบินไปจนถึงชุดยานอวกาศ เพราะไอของ Methylene Chloride ช่วยให้ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ที่เป็นโลหะได้รับการทำความสะอาดอย่างรวดเร็วและปลอดภัย
  5. Methylene Chloride ในอุตสาหกรรมทางการเกษตร : สำหรับผลิตผลทางการเกษตร มีการใช้เมทิลีนคลอไรด์เป็นสารรมควันเพื่อไล่แมลงที่รบกวนผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าว, ธัญพืชและผลไม้ต่างๆ เพื่อทำให้ผลไม้สุกเร็วขึ้นและไม่มีรสชาติที่เปรี้ยว นอกจากนั้นยังใช้เป็นสารเติมแต่งสีสำหรับผักและผลไม้ เพื่อให้ดูน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Methylene Chloride (เมทิลีนคลอไรด์) ปลอดภัยกับมนุษย์หรือไม่

ด้วยคุณสมบัติของเมทิลีนคลอไรด์ที่สามารถระเหยได้ง่าย อันตรายที่เกิดขึ้นจากสารเคมีชนิดนี้ก็คือการสูดดม และมีในบางกรณีที่พบว่าการสูดดมหรือหายใจเอาสารเคมีชนิดนี้เข้าไปในปริมาณมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ปิดโดยไม่มีการระบายอากาศเพียงพอ อาจทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จนในหลายๆ ประเทศมีข้อความเตือนถึงอันตรายต่อสุขภาพในผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสาร Methylene Chloride เพราะนอกจากจะเกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกายหากสูดดมแล้ว หากผิวหนังได้สัมผัสกับสารเคมีชนิดนี้จะก่อให้เกิดการระคายเคือง เกิดรอยแดงหรือทำให้ผิวหนังไหม้เกรียมได้

สำนักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งสหรัฐอเมริกา (OSHA) ได้ตรวจสอบความอันตรายของ Methylene Chloride ที่มีผลต่อสภาพแวดล้อม โดยกำหนดขีดจำกัดของการรับสัมผัสของเมทิลีนคลอไรด์ 25 ส่วนต่ออากาศหนึ่งล้านส่วนในระยะเวลาแปดชั่วโมง โดยบริษัทหรือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีการใช้เมทิลีนคลอไรด์จะต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของ OSHA ที่บังคับใช้กับการคุ้มครองคนงาน รวมถึงบริเวณที่ปฏิบัติงานจะต้องมีที่ระบายอากาศที่เหมาะสม และมีอุปกรณ์เพื่อช่วยในการหายใจและอุปกรณ์ความปลอดภัยอื่นๆ ในบริเวณโรงงานหรือสถานที่ปฏิบัติงานด้วย

และอย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วว่า การประโยชน์จากสารเคมีที่ชื่อว่า Methylene Chloride ถูกนำไปใช้กับอุตสาหกรรมของอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการผลิตยาด้วย ฉะนั้นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) จึงเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดขีดจำกัดสำหรับปริมาณการใช้สารเคมีชนิดนี้ เพื่อไม่ให้ใช้มากจนเกินไปหรืออาจตกค้างในอาหารเครื่องดื่มและยา จนมนุษย์เกิดความอันตราย

มีบางงานวิจัยพบว่า Methylene Chloride อาจะเป็นสารก่อมะเร็งปอด ตับและตับอ่อน โดยมีงานวิจัยที่ใช้กับสัตว์ทดลองในห้องปฏิบัติการณ์ (ข้อมูลอ้างอิง) นอกจากนั้นยังพบในการทดลองกับสัตว์อื่นๆ ว่าสารเคมีนี้มีผลให้เกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งในต่อมน้ำลายด้วย นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยพบว่า หากคนที่มีปัญหาเกี่ยวโรคหัวใจอยู่แล้ว และได้ไปสัมผัสกับสารเมทิลีนคลอไรด์ อาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะจนอาจจะเกิดหัวใจวายได้ (ข้อมูลอ้างอิง)

ใช้ Methylene Chloride (เมทิลีนคลอไรด์) อย่างไรให้ปลอดภัยมากที่สุด?

✔ บุคลากรหรือผู้ปฏิบัติงานที่ต้องสัมผัสหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเมทิลีนคลอไรด์ จะต้องไม่ทำงานหรืออยู่ในห้องปฏิบัติงานที่มีสารเคมีชนิดนี้อยู่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน หรือ 5 วันต่อสัปดาห์

✔ หลักเลี่ยงการสูดดมสาร Methylene Chloride ที่มีความเข้มข้นเกิน 34,700 มิลลิกรัม เพราะหากมีการสูดดมเป็นระยะเวลานาน อาจจะทำให้มีผลกระทบต่อระบบประสาท สูญเสียความจำ การทรงตัว แขนขาอ่อนแรง

✔ สถานที่จัดเก็บสารเคมี ควรจัดเก็บให้ห่างจากบริเวณที่เสี่ยงต่อความร้อนและการติดไฟ เพราะเมทิลีนคลอไรด์มีส่วนผสมที่สามารถระเหยได้ จึงสามารถติดไฟได้จนอาจจะทำให้เกิดการระเบิดได้

✔ เมื่อมีผู้ปฏิบัติงานเกิดสัมผัสเข้ากับ Methylene Chloride ที่บริเวณผิวหนัง ให้รีบถอดเสื้อผ้าออกหรือล้างผิวหนังที่สัมผัสกับสารเคมีด้วยน้ำสะอาดทันที หากมีความผิดพลาดสูดดมสารเคมีเข้าไป ให้รีบนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่มีสารเคมีทันทีไปยังที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

และทั้งหมดนี้คือประโยชน์และโทษของสารเคมีภัณฑ์ที่ชื่อว่า Methylene Chloride ที่สามารถนำไปใช้เป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมหลากหลายชนิด ทั้งตัวทำละลาย, ตัวเชื่อมพลาสติก, เป็นสารกำจัดสี รวมถึงมีส่วนในอุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่ม, อุตสาหกรรมทางการแพทย์และการผลิตยา รวมถึงอุตสาหกรรมยานยนต์อีกด้วย และถึงแม้สารเมทิลีนคลอไรด์จะมีประโยชน์มากมาย แต่ถ้าใช้เกินขนาดหรือนำไปใช้งานอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม ก็อาจจะเกิดอันตรายได้เช่นกัน

หากคุณกำลังมองหา Methylene Chloride รวมถึงเคมีภัณฑ์ชนิดอื่นๆ ที่สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายชนิด บริษัท พี.ไว จำกัด เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายเคมีสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม และพร้อมให้คำปรึกษาและคำแนะนำเกี่ยวกับสินค้าโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ที่พร้อมให้คำแนะนำลูกค้าทุกท่าน พร้อมบริการจัดส่งสินค้าถึงมือท่านอย่างปลอดภัย

 

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://pwai.co.th/
ออฟฟิศ: 02-938-0515-6 / 02-513-8398 / 02-513-2639 / 02-512-2111
อีเมล: sales@pwai.co.th
Line@: @pwaishop