Xylene สารประกอบอินทรีย์เคมีที่เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมต่างๆ

Xylene คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญในการผลิตพลาสติก

Xylene คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญในการผลิตพลาสติก

Xylene สารประกอบอินทรีย์เคมีที่เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมต่างๆ

Xylene สารประกอบอินทรีย์เคมีที่เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมต่างๆ

Xylene (ไซลีน) คือสารประกอบอินทรีย์เคมีที่รู้จักกันอีกชื่อว่า Dimethylbenzene, Methyl toluene หรือ Xylol เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นของเหลวใสไม่มีสี มีกลิ่นหวาน เป็นสารไวไฟที่อุณหภูมิห้อง ระเหยง่าย ไม่หนืด ไม่ละลายในน้ำ แต่สามารถละลายผสมกับของเหลวอินทรีย์ต่างๆ ได้ โดยไซลีนมีประโยชน์ในอุตสาหกรรมหลายอย่าง ทั้งเป็นตัวทำละลาย, ใช้ทำความสะอาดคราบน้ำมันจากพื้นผิวหรือชิ้นส่วนโลหะ และนำไปสร้างเป็นสารชนิดใหม่

นอกจากนั้นยังนำไปเป็นสารประกอบตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปของสารเคมีชั้นกลาง เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่ต้องการ เช่น ผลิตพลาสติกและยางได้หลายชนิด หรือนำไปเป็นส่วนผสมในน้ำมันเบนซินได้อีกด้วย เนื่องจากมีจุดเดือดต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน จึงเพิ่มความสามารถในการระเหยของน้ำมันเบนซินที่อุณหภูมิอุ่นขึ้นช่วยควบคุมความดันไอของส่วนผสมที่มากเกินไปจนอาจเป็นอันตรายได้

ไซลีนถูกพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1850 โดย Auguste Cahours นักเคมีชาวฝรั่งเศส โดยการปฏิรูปตัวเร่งปฏิกิริยาเช่นเดียวกับถ่านถ่านหิน นอกจากนี้ยังพบตามธรรมชาติในน้ำมันดิบและเนื้อไม้เนื้อหยาบ จึงตั้งชื่อว่า Xylene หรือ xylol ตามคำว่า xylong ในภาษากรีกที่แปลว่า ‘ไม้’ มีสูตรทางเคมีคือ C8H10 โดยโครงสร้างของไซลีนประกอบด้วยกลุ่มเมทิลสองกลุ่มที่ยึดกับวงแหวนคาร์บอน 6 ตัว และมี 3 Isomer หลักของไซลีน เรียกว่า ออร์โธไซลีน เมตาไซลีนและพาราไซลีนที่มีประโยชน์หลายอย่างในอุตสาหกรรมโพลิเมอร์และการผลิตพลาสติกสมัยใหม่

ความสำคัญของ Xylene ในอุตสาหกรรมของการผลิตพลาสติก

ไซลีนถือเป็นหนึ่งในสารเคมีอันดับต้นๆ ที่ผลิตในสหรัฐอเมริกา มีการนำใช้ประโยชน์มากมายทั้งในสถานะบริสุทธิ์และในสารประกอบ เพื่อใช้ในหลายอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย มักพบในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สารเคลือบเงา หมึก ทินเนอร์ผสมสี สารขจัดคราบมันหรือยาฆ่าแมลง รวมถึงอุตสาหกรรมทางการแพทย์ต่างๆ และที่เราจะขอเน้นในบทความนี้เป็นหลักก็คือ การใช้ Xylene ในอุตสาหกรรมของการผลิตพลาสติก

โดยไซลีน (Dimethylbenzene) เป็นตัวทำละลายอะโรมาติกที่ใช้กันทั่วไปโดยมีรูปแบบของ Isomeric 3 รูปแบบ ได้แก่ ออร์โธไซลีน เมตาไซลีนและพาราไซลีน ซึ่งพาราไซลีน (Paraxylene) นี้เองเป็นส่วนสำคัญในการผลิตสารเคมีที่ทำพลาสติก ผ้า และยาง นอกจากนั้นเมตาไซลีนก็ยังใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตโพลีเอสเตอร์สำหรับขวดและภาชนะพลาสติกแข็ง โดยทะเบียนของ CAS (Chemical Abstracts Service) ซึ่งเป็นเป็นหน่วยงานของสมาคมเคมีอเมริกัน (American Chemical Society) ได้ระบุว่า Xylene เป็นสารเคมีตัวกลางที่ใช้สำหรับเปลี่ยนปริมาณถ่านหิน-น้ำมันดิบเป็นเบนซิน จากนั้นเบนซีนจะเปลี่ยนเป็นโอเลฟินส์ (Olefins) ซึ่งเป็นสารเคมีชั้นต้น เช่น โพรพิลีน เอทิลีนและสไตรีน ที่ใช้ในการผลิตพลาสติก ยาง เรซินและสไตโรโฟม (Styrofoam) ซึ่งเป็นโฟมกันความร้อนในวัสดุก่อสร้าง

พาราไซลีนเป็นหนึ่งในสามไอโซเมอร์ของ Xylene ซึ่งในการสังเคราะห์โพลิเมอร์จะต้องใช้พาราไซลีนเป็นสารตั้งต้น โดยในการผลิต Polyethylene Terephthalate (พอลิเอทิลีน เทเรฟทาเลต) หรือ พลาสติก PET จะใช้พาราไซลีนใช้ทำกรด Terephthalic (เทเรฟทาลิก) หรือ TPA, กรดเทเรฟทาลิกบริสุทธิ์หรือ PTA และ Dimethyl Terephthalate (ไดเมทิล เทเรฟทาเลต) หรือ DMT ซึ่งสารเคมีทั้ง 3 ตัวนี้คือส่วนประกอบสำคัญในการผลิตพลาสติก PET

ซึ่งพลาสติก PET เป็นส่วนประกอบหลักในเส้นใยพลาสติกและฟิล์มต่างๆ ที่นำไปใช้ผลิตขวดเครื่องดื่ม, เครื่องปรุง, ขวดผงซักฟอก, ขวดสำหรับน้ำยาทำความสะอาดในครัวเรือนหรือบรรจุภัณฑ์ของอาหารและเครื่องสำอางต่างๆ นอกจากนั้น พลาสติก PET ก็ยังเป็นทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของเส้นใยโพลีเอสเตอร์สำหรับเสื้อผ้าและผ้าที่ใช้งานเอนกประสงค์อีกด้วย ยิ่งในปัจจุบันแนวโน้มการใช้พลาสติก PET เพิ่มมากขึ้น เพราะนอกจากจะมีความแข็งแรงทนทานสูง
และปลอดภัยมากพอสำหรับการนำไปใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับอุปโภคบริโภคแล้ว ยังสามารถนำไปรีไซเคิลได้จึงถือเป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกชนิดหนึ่ง

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

อันตรายของ Xylene และการใช้งานที่ถูกต้อง

แม้ว่าไซลีนจะมีประโยชน์มากมายในหลายอุตสาหกรรม แต่ก็สามารถทำให้เกิดอันตรายได้หากมีการสัมผัสถูกสารเคมีชนิดนี้เข้าไป เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคหลายชนิด เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำยาเคลือบเงา เชลแลค สารป้องกันสนิม และควันบุหรี่ ไซลีนสามารถดูดซึมได้ทางทางเดินหายใจและทางผิวหนัง หรือการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไซลีน เช่น ช่างทาสี คนงานในอุตสาหกรรมสี คนงานในห้องปฏิบัติการชีวการแพทย์ คนงานในอู่ซ่อมรถยนต์ คนงานโลหะ และช่างขัดสีเฟอร์นิเจอร์

Xylene ผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง? : แม้ว่าทั้งองค์การระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยโรคมะเร็ง (IARC) และ EPA ยังไม่พบข้อมูลว่าไซลีนมีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งในมนุษย์แต่การสัมผัสกับสารเคมีชนิดนี้ ทั้งการสูดดมหรือสัมผัสกับผิวหนังและดวงตาก็ส่งผลกระทบกับสุขภาพของคุณโดยตรงได้ ดังนี้

  • หากหายใจเอาไซลีนเข้าไปจะทำให้ระบบประสาทส่วนกลางทำงานช้าลง เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นลม ปวดศีรษะ และหากได้รับไซลีนในปริมาณสูงเป็นระยะเวลาสั้นๆ อาจรุนแรงขึ้นจนมีอาการใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ, ปอดบวม และอาจมีการเปลี่ยนแปลงของตับและไต จนทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้
  • หากไซลีนสัมผัสเข้ากับดวงตา อาจทำให้กระจกตาเสียหายได้ ผู้ที่ปฏิบัติงานใกล้ชิดกับสารเคมีชนิดนี้ จึงต้องควรใส่แว่นตานิรภัยขณะปฏิบัติงาน
  • หากไซลีนสัมผัสเข้ากับผิวหนัง อาจทำให้ระคายเคืองและผิวหนังอักเสบได้
  • หากกลืนไซลีนเข้าไป ควรนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

EPA (Environmental Protection Agency) ที่เป็นสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม และ Occupational Safety and Health Administration (OSHA) คือสำนักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ได้กำหนดขีดจำกัดความเหมาะสมในการใช้ Xylene คือ 10 ส่วนต่อน้ำดื่มล้านส่วน (10 ppm) และไซลีน 100 ส่วนต่อล้านส่วนของอากาศในที่ทำงาน (100 ppm) สำหรับการทำงานเป็นกะ 8 ชั่วโมงและการทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่ใช้ Xylene

  • สถานที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับไซลีน จะต้องมีสภาพแวดล้อมที่มีโล่ง สามารถระบายอากาศได้ดี
  • ผู้ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงในการสัมผัสกับไซลีน จะต้องสวมชุดป้องกัน, ผ้ากันเปื้อน, หน้ากากช่วยหายใจ, แว่นครอบตาและถุงมือนิรภัยที่สามารถป้องกับสารเคมีชนิดนี้สัมผัสกับผิวหนังของคุณได้
  • ผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสกับไซลีน จะต้องได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ
  • สถานที่เก็บสารเคมีชนิดนี้ จะต้องอยู่ห่างจากความร้อนและประกายไฟ รวมถึงการปล่อยไฟฟ้าสถิตย์และพื้นผิวที่ร้อน
  • บริเวณที่คุณจะใช้ไซลีน จะต้องติดป้าย ‘ห้ามสูบบุหรี่’

อย่างที่ทราบกันดีกว่า สารเคมีทุกชนิดมีประโยชน์และก็มีโทษหากใช้งานผิดวิธี อย่าง Xyleneก็เช่นเดียวกัน ที่ไม่ใช่แค่การเป็นสารประกอบในนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น การล้างคราบน้ำมัน,เป็นสารเคลือบเงาหรือผสมกับทินเนอร์สำหรับผสมสี แต่ยังนำไปสร้างเป็นสารเพื่อนำไปผลิตพลาสติก PET และยางต่างๆสำหรับอุตสาหกรรมมากมาย

หากคุณกำลังมองหาไซลีนสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมของคุณ บริษัท พี.ไว จำกัด เราคือบริษัทผู้นำเข้าเคมีภัณฑ์มากมาย ที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรมที่มีความหลากหลาย ทั้ง อาหาร, เครื่องดื่ม,เครื่องสำอาง, อุตสาหกรรมสี, สิ่งทอ, การพิมพ์ โดยเคมีภัณฑ์ต่างๆ ที่เรานำเข้ามานั้นมีคุณภาพดี  มีมาตรฐานจากผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

 

คลิกดูรายละเอียดสินค้า
https://pwai.co.th/product/xylene/

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท พี.ไว จำกัด
https://pwai.co.th/
ออฟฟิศ: 02-938-0515-6 / 02-513-8398 / 02-513-2639 / 02-512-2111
อีเมล: sales@pwai.co.th
Line@: @pwaishop

Leave a Reply

Your email address will not be published.