Ethyl Alcohol

ประเภทของแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol vs Methyl Alcohol)

ประเภทของแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol vs Methyl Alcohol)

ความแตกต่างของ Ethyl Alcohol vs Methyl Alcohol

 

Ethyl Alcohol

อย่างที่ทราบกันดีว่าในชีวิตประจำวันของเรานั้น ต้องสัมผัสกับสารเคมีมากมายหลายชนิด และหนึ่งในนั้นที่คุ้นเคยกันดีก็คือแอลกอฮอล์ โดยประเภทของแอลกอฮอล์นั้นสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ Ethyl Alcohol เป็นแอลกอฮอล์ที่สามารถนำมารับประทานได้ และMethyl Alcohol คือแอลกอฮอล์ที่ไม่สามารถรับประทานได้ แต่นั่นไม่ใช่เพียงความแตกต่างเดียวของแอลกอฮอล์ทั้งสองประเภทที่ได้กล่าวไป… ฉะนั้นในบทความนี้ บริษัท พี.ไว จำกัด จะขอนำเสนอความแตกต่างในด้านต่างๆ ของ เอทิลแอลกอฮอล์และเมทิลแอลกอฮอล์ ดังต่อไปนี้

Ethyl Alcohol คืออะไร?

เอทิลแอลกอฮอล์หรือเอทานอล มักถูกใช้เรียกแทนกันได้ในความหมายเดียวกัน มีโครงสร้างทางสูตรเคมีคือ CH3CH2OH และมีชื่อย่อว่า EtOH เป็นของเหลวที่ระเหยและละลายน้ำได้ง่าย ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน เป็นสารระเหยและไวไฟสูง เพราะ Ethyl Alcohol เป็นแอลกอฮอล์ที่สามารถรับประทานได้ จึงมักนำไปใช้ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผลิตได้จากการหมักน้ำตาลโดยยีสต์ หรือผ่านกระบวนการปิโตรเคมี เช่น เอทิลีน ไฮเดรต (Ethylene Hydrate) ที่นิยมนำมาใช้งานทางการแพทย์เพื่อเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อ, ตัวทำละลายยา, ตัวทำละลายเคมี, เชื้อเพลิงเครื่องยนต์, เป็นเชื้อเพลิงจรวด, สำหรับทำความร้อนในครัวเรือน ฯลฯ

Methyl Alcohol คืออะไร?

เมทานอลหรือเมทิลแอลกอฮอล์นั้น มีโครงสร้างทางสูตรเคมีคือ CH3OH และมีชื่อย่อว่า MeOH เป็นของเหลวใส ระเหยง่าย เป็นพิษ นิยมใช้เป็นตัวทำละลายและใช้เป็นเชื้อเพลิง มีต้นกำเนิดจากกระบวนการกลั่นทางปิโตรเคมีมักจะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อย่าง น้ำยาลอกสี, สีทาไม้, น้ำมันเคลือบสีหรือช่วยล้างคราบในงานพลาสติก นอกจากนั้นสารแปรรูปของเมทานอลยังถูกนำไปผสมกับ LPG เพื่อใช้ในครัวเรือน หรือผสมกับน้ำมันดีเซลทำเป็นไบโอดีเซล ได้อีกด้วย

แต่เมทิลแอลกอฮอล์มีความเป็นพิษสูงจึงไม่สามารถนำมาใช้รับประทานได้เหมือน Ethyl Alcohol เพราะหากเมทิลแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายมนุษย์โดยการกลืนกินเข้าไปเมทานอลจะสร้างเป็นกรดฟอร์มิกที่เป็นพิษกับร่างกายเป็นอย่างมาก หากสัมผัสถูกผิวหนังอาจก่อให้เกิดระคายเคือง หรือหากสูดดมเข้าไปจะส่งผลกระทบต่อสมอง, ระบบประสาทและระบบทางเดินหายใจอีกด้วย

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ความแตกต่างระหว่าง Ethyl Alcohol และ Methyl Alcohol มีอะไรบ้าง?

  1. แหล่งกำเนิด
    • เอทิลแอลกอฮอล์ : มีแหล่งกำเนิดจากธรรมชาติ คือการนำพืชประเภท เช่น มันสำปะหลัง, มันเทศ, ข้าวโพด หรือข้าวบาร์เลย์ และพืชอีกชนิดที่ให้น้ำตาลได้อย่าง อ้อย มาหมักให้แป้งเปลี่ยนเป็นน้ำตาล จากนั้นน้ำตาลจึงเปลี่ยนเป็นแอลกอฮฮล์โดยใช้เอนไซม์หรือกรดบางชนิดช่วยย่อย เพื่อทำให้เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% จนได้ Ethyl Alcohol
    • เมทิลแอลกอฮอล์ : มีต้นกำเนิดจากกระบวนการกลั่นทางปิโตรเคมี ด้วยการสังเคราะห์ผ่านการเร่งปฏิกิริยาจากคาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์และไฮโดรเจน
  2. ความเป็นกรด
    • เอทิลแอลกอฮอล์ : มีความเป็นกรดที่อ่อนกว่าน้ำ
    • เมทิลแอลกอฮอล์ : เมทานอลมีระดับความเป็นกรดสูงกว่าน้ำเล็กน้อย
  3. คุณสมบัติและลักษณะโดยทั่วไป
    • เอทิลแอลกอฮอล์ : มีสถานะเป็นของเหลวที่ระเหยและละลายน้ำได้ง่าย ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนและไวไฟสูง Ethyl Alcohol มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา รวมถึงทำลายไวรัสได้อีกด้วย ในความเข้มข้นที่เหมาะสมคือ 70% ขึ้นไป
    • เมทิลแอลกอฮอล์ : เป็นของเหลวใส มีกลิ่นเฉพาะตัว เมื่อเผาไหม้จะให้เปลวไฟสีขาวอ่อน เป็นตัวทำละลายที่มีประสิทธิภาพและมีส่วนร่วมในปฏิกิริยาการสังเคราะห์ที่สำคัญมากมาย สำหรับอุตสาหกรรมเคมี เนื่องจากสามารถเปลี่ยนเป็นฟอร์มาลดีไฮด์ ไฮโดรคาร์บอน และเมทิลามีนได้ง่าย จึงใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภทในชีวิตประจำวัน
  4. การใช้ประโยชน์
    • เอทิลแอลกอฮอล์ : นำไปใช้กับเครื่องดื่มต่างๆ ที่ผสมแอลกอฮอล์ โดยมีความเข้มข้น 40% หรือน้อยกว่า ผสมกับส่วนอื่นๆ ของเครื่องดื่มในปริมาณที่ต้องการ เช่น เบียร์, ไวน์, บรั่นดีหรือวิสกี้ นอกจากนั้นยังสามารถนำไปใช้สำหรับเช็ดทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์, เครื่องมือหรือเครื่องจักร รวมถึงใช้ Ethyl Alcohol เช็ดทำความสะอาดร่างกาย หรือนำไปเป็นสารตั้งต้นของยาบางชนิดในทางการแพทย์, ใช้ในการฆ่าเชื้อโรค และเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง, สบู่และน้ำหอมต่างๆนอกจากนั้น เอทานอลยังใช้ในการผลิตยานยนต์และเชื้อเพลิงจรวด และยังช่วยให้สามารถสกัดน้ำมันจากวัตถุดิบธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น น้ำมันกัญชา เป็นต้น
    • เมทิลแอลกอฮอล์ : เนื่องจากเป็นแอลกอฮอล์ที่ไม่สามารถรับประทานได้ จึงนิยมนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ อย่าง อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เช่น น้ำยาลอกสี, ผสมสีทาไม้, น้ำมันเคลือบสีหรือช่วยล้างคราบในงานพลาสติก นอกจากนั้นยังนำไปใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์คือ การแปรรูปเมทานอลเพื่อนำไปผสมกับน้ำมันดีเซลทำเป็นไบโอดีเซล หรือ นำไปผสมกับ LPG เพื่อใช้ในครัวเรือน หรือใช้ในการผลิตพลาสติกและผ้าใยสังเคราะห์, สีย้อมผ้า, สารฆ่าเชื้อรา และแม้แต่ฟิล์มถ่ายภาพ เป็นต้น
  5. ความเป็นพิษ
    • เอทิลแอลกอฮอล์ : เพราะ Ethyl Alcohol เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง จึงสามารถทำให้เกิดอาการง่วงนอนและมึนเมา ทำให้เสียการทรงตัว สับสน การตัดสินใจช้าลงและความจำลดลง การบริโภค
    • เมทิลแอลกอฮอล์ : เนื่องจากเมทานอลหรือเมทิลแอลกอฮอล์นั้น มีความกรดเป็นสูง การรับประทานเข้าไปอาจทำอันตรายถึงชีวิตได้ ปริมาณที่น้อยเพียงแค่ไม่ถึงครึ่งช้อนชาหากกระเด็นโดนตา ก็อาจทำให้ตาบอดได้ หรือถูกผิวหนังอาจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ การสูดดมเมทิลแอลกอฮอล์จะทำให้สมอง ระบบการหายใจและระบบประสาทเสียหายได้มากน้อยตามปริมาณและระยะเวลาที่สูดดมเข้าไป

เราจะสามารถแยก Ethyl Alcohol และ Methyl Alcohol ได้อย่างไร?

เอทานอลและเมทานอลต่างก็เป็นของเหลวที่ไม่มีสี จึงไม่สามารถแยกแยะได้ด้วยการมองเห็นจากสายตา แต่จะสามารถทำได้โดยการทดสอบที่เรียกว่าไอโอโดฟอร์ม (Iodoform) ใช้เพื่อแยกแยะเอทานอลและเมทานอล เมื่อเอทานอลอุ่นด้วยไอโอดีนและโซเดียมไฮดรอกไซด์ จะเกิดตะกอนสีเหลือง แต่เมทานอลไม่เปลี่ยนสีใดๆ นอกจากนั้นยังมีวิธีการหนึ่งคือ การพิสูจน์อัตลักษณ์ด้วยเทคนิคทางสเปกโทรสโกปี (Spectroscopy) วิธีการนี้จะสามารถบอกประเภทของแอลกอฮอล์ ไปจนถึงปริมาณการปนเปื้อนของแอลกอฮอล์หรือสารประเภทอื่นๆ ได้ด้วย แต่วีธีการนี้ต้องอาศัยเครื่องมือวิเคราะห์ที่มีราคาแพง และผู้เชี่ยวชาญในการใช้งาน

ยิ่งในปัจจุบันนี้ เราใช้แอลกอฮอล์ในการล้างมือทั้งแบบสเปรย์หรือรูปแบบเจลเป็นประจำทุกวัน วันละหลายๆ ครั้ง…​คงไม่ดีแน่หากเกิดข้อผิดพลาดในเจลแอลกอฮอล์ที่มีเมทานอลปนเปื้อนอยู่ ฉะนั้นบริษัท พี.ไว จำกัด จึงมีวิธีทดสอบเจลล้างมือมาฝากกัน โดยนำน้ำส้มสายชู 3 ml ผสมกับด่างทับทิม 1 เกล็ด นำไปผสมกับเจลแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เท่ากันคือ 3 ml หากเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ที่อันตรายต่อร่างกาย สีจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใน 15 นาทีแรก แต่ถ้าหากเป็น Ethyl Alcohol ที่ปลอดภัยจะมีสีที่เปลี่ยนแปลงในทันที3

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://pwai.co.th/
ออฟฟิศ: 02-938-0515-6 / 02-513-8398 / 02-513-2639 / 02-512-2111
อีเมล: sales@pwai.co.th
Line@: @pwaishop