Glycerine

ประโยชน์ของ Glycerine ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอาง

ประโยชน์ของ Glycerine ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอาง

รู้จักกับ Glycerine (กลีเซอรีน)

Glycerine

รู้หรือไม่? ว่าหนึ่งในสารเคมีสำคัญที่นิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอางมากที่สุดชนิดหนึ่งเลยก็คือ Glycerine (กลีเซอรีน) หรือในอเมริกาจะใช้คำว่า Glycerin โดยสารเคมีชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นของเหลวที่มีความหนืด ที่ไม่มีสีแต่มีรสหวาน เป็นสารประกอบธรรมชาติที่ได้จากน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ สามารถละลายได้ดีในน้ำและแอลกอฮอล์ จึงสามารถนำไปใช้เป็นได้ทั้งสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารเคมีอื่นๆ ได้ รวมถึงสามารถเป็นสารทำละลายได้ด้วย

หน้าที่สำคัญของ Glycerine คือสารหล่อลื่นเป็นมอยซ์เจอร์ไรเซอร์ เพื่อดูดซับความชื้น ช่วยขจัดความสกปรกได้จึงนิยมนำมาใช้ทำสบู่ แชมพู ยาสีฟันหรือสกินแคร์ต่างๆ นอกจากนั้นรสหวานของ กลีเซอรีน ยังสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในอาหารและเครื่องอื่ม เช่น สารให้ความหวาน, ลูกอมหรือสุรา ฯลฯ ซึ่งถือว่าเป็นสารเคมีที่ปลอดภัยสำหรับมนุษย์ชนิดหนึ่งนั่นเอง โดยในบทนี้ pwai จึงจะขอลงลึกถึงประโยชน์ของสารเคมีนิดนี้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอางอย่างละเอียด ดังต่อไปนี้

ประโยชน์ของ “Glycerine” ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง

ความจริงแล้วเบื้องหลังของเครื่องสำอาง โลชั่นบำรุงผิว รวมถึงน้ำหอมต่างๆ มี กลีเซอรีน เป็นหนึ่งในส่วนผสมนั้น… จากการศึกษาของ American Academy of Dermatology (AAD) เป็นสมาคมทางการแพทย์มืออาชีพ เพื่อเป็นตัวแทนของแพทย์ที่เชี่ยวชาญในการรักษาสภาพของผิวหนัง ผมและเล็บ ในปี 2559 กล่าวว่า “Glycerine” เป็นสารให้ความชุ่มชื้นที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด จึงเป็นส่วนผสมที่นิยมใช้ในการเป็นส่วนประกอบหลักของมอยส์เจอไรเซอร์ในสกินแคร์และโลชั่น รวมถึงเครื่องสำอางต่างๆ ด้วย

เพราะคุณสมบัติของ กลีเซอรีน มีประโยชน์หลายประการที่ดีต่อผิวของคุณ ได้แก่

✔ ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ช่วยให้ผิวที่แห้งกลับมาเนียนนุ่มชุ่มชื่น
✔ ช่วยป้องกันผิวไม่ให้เกิดการระคายเคือง หรือลดอาการลดอาการคัน
✔ ช่วยปรับปรุงการทำงานของของเกราะป้องกันผิว
✔ ช่วยลดการอักเสบของผิว บางครั้งอาจจะมีส่วนในการช่วยสมานแผลบริเวณผิวหนังได้
✔ มีบางงานวิจัยระบุว่า กลีเซอรีน ช่วยเรื่องโรคสะเก็ดเงินได้

แม้ว่าจะมีผลวิจัยรองรับจาก American Academy of Dermatology (AAD) ที่เป็นสมาคมทางการแพทย์มืออาชีพเกี่ยวกับผิวหนังแล้วว่า Glycerine ที่ใช้ในเครื่องสำอาง, โลชั่นบำรุงผิวหรือสบู่นั้น มีความปลอดภัยสูงอีกทั้งยังมีผลดีกับผิวของคุณ แต่หากว่าหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นแล้วเกิดอาการคันหรือรอยแดง ให้คุณหยุดใช้ผลิตภัณฑ์นั้นแล้วรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อหาสาเหตุของอาการแพ้ที่จริงจะดีที่สุด

เพราะก็มีบางงานวิจัยเช่นกันที่พบว่า กลีเซอรีน อาจทำให้ผิวหนังขาดน้ำได้ เนื่องจากสารเคมีชนิดนี้มีแม้จะมอบความชุ่มชื้นได้แต่ก็มีสถานะที่เป็นสารดูดความชื้นได้ด้วยเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีความชื้นต่ำ และหากคุณใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีชนิดนี้ผสมเยอะมากจนเกินไปในสบูหรือสกินแคร์ ก็อาจทำให้ผิวขาดน้ำหรือเกิดแผลพุพองที่ผิวหนังได้

“Did You Know : ถ้าผสม Glycerine กับน้ำกุหลาบ จะช่วยให้ผิวชุ่มชื่นและกระชับรูขุมขนได้ นอกจากนั้vนมีการวิจัยในปี 2019 ยังพบว่าดอกกุหลาบมีสารต้านอนุมูลอิสระและมีฤทธิ์ต้านการอักเสบบนผิวหนัง นอกจากนั้นหากผสม กลีเซอรีน กับกรดไฮยาลูโรนิกและสารสกัดจากใบบัวบก ยังจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเกราะป้องกันผิวได้นานถึง 24 ชั่วโมง อีกด้วย”

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ประโยชน์ของ “Glycerine” ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

ในปัจจุบันนี้หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่ผสมอยู่ในอาหารและเครื่องดื่มที่หลีกเลี่ยงความหวานจากน้ำตาล โดยสารเติมแต่งรสชาติของความหวานนี้เรียกว่า กลีเซอรีน เป็นสารประกอบ Polyols ที่เป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง หรือที่เรียกกันว่าน้ำตาลแอลกอฮอล์ นอกจากจะเป็นสารที่ให้รสชาติหวานแทนน้ำตาลได้แล้ว ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม Glycerine ยังถูกนำมาใช้ประโยชน์ ดังนี้

✔ ทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายที่ให้รสชาติ เช่น รสวานิลลา ช็อกโกแลต กาแฟ และรสส้ม
✔ ทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายสีผสมอาหารในน้ำอัดลมและขนมหวาน เช่น สีแดงเลือดนก
✔ ทำหน้าที่เป็นสารกักเก็บความชุ่มชื้นผลไม้แห้ง ลูกอม เค้กและชีส (มีเอกสารอ้างอิงที่รวบรวมโดยสมาคมผู้ผลิต กลีเซอรีน ระบุว่าเค้กที่อบด้วยไข่และ Glycerine จะมีเนื้อสัมผัสที่ดีกว่าเค้กที่ทำด้วยไข่ที่ไม่ได้ผสมสารชนิดนี้)
✔ ทำหน้าที่เป็นสารกันบูดได้ แต่ก็ไม่ครอบคุลมถึงการป้องกันเชื้อราและแบคทีเรีย นอกจากนั้นยังช่วยถนอมสารสกัดจากพฤกษชาติ เช่น ลาเวนเดอร์และโรสแมรี่, เครื่องเทศและเครื่องปรุงรส
✔ ใช้เป็นส่วนประกอบการหมักและการระเหยของแอลกอฮอล์ระหว่างการเก็บรักษา เช่น เบียร์ น้ำผึ้ง น้ำส้มสายชูและไวน์

นอกจากนั้น “Glycerine” ยังมีบทบาทสำคัญมากในโลกของเครื่องดื่ม โดยตั้งแต่ศตวรรษที่19 น้ำตาลแอลกอฮอล์หรือ กลีเซอรีน หรือบางครั้งก็ถูกเรียกว่า กลีเซอรอล ถูกนำมาใช้สร้างรสชาติของสุรา อีกทั้งยังเป็นส่วนผสมในการปรุงรสชาติสำหรับเครื่องดื่มบางประเภทที่เข้มข้นกว่า เช่น จิน (Gin) คอนญัก (Cognac) ไรย์วิสกี้ (rye whisky) ซึ่งเป็นวิสกี้ที่ได้จากการ กลั่นหลังการหมักเมล็ดข้าวหลายชนิดที่มีข้าวไรย์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังใช้เป็นสารสกัดเพื่อสร้างของเหลวรสหวานเป็นน้ำเชื่อม อีกด้วย

Glycerine” เป็นวีแกนหรือไม่?

กระแสฮิตที่กำลังเป็นที่นิยมของหมู่คนรักสุขภาพทั่วโลกในปัจจุบัน คงหนีไม่พ้นเทรนด์การกิน Vegan และ Plant Based ที่เน้นการกินอาหารที่มาจากพืชและปราศจากเนื้อสัตว์ ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม จะต้องเริ่มหันมาสนใจผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากเนื้อสัตว์ เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์แบบใหม่ของคนที่รักสุขภาพ… จริงอยู่ที่ กลีเซอรีน สามารถสกัดจากไขมันพืชได้ เช่น มะพร้าว ถั่วเหลืองและปาล์ม แต่ความจริงแล้ว “Glycerine” ที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่ที่ใช้ประกอบอาหารมักมาจากไขมันสัตว์ ทางที่ดีหากคุณเริ่มที่จะบริโภคอาหาร Vegan และ Plant Based อาจจะต้องดูฉลากของส่วนประกอบให้ดีว่าเป็น กลีเซอรีน จากน้ำมันมะพร้าวหรือ Vegetable Glycerine เป็นต้น

หากคุณกำลังมองหา Glycerine ที่สกัดจากพืช pwai เราจำหน่าย กลีเซอรีน ที่ผลิตจากปาล์ม ที่ได้รับรองมาตราฐานจาก USP/EP (United States Pharmacopeia, European Pharmacopeia) ให้ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร,ยา,เครื่องสำอางได้ อีกทั้งยังได้รับการรับรองจาก อย. และ ฮาลาล ครบถ้วนอีกด้วย

Glycerine กับประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น

✔ เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารประกอบโพลิออล (Polyol) สำหรับผลิตโฟม
✔ ใช้เป็นสารทำละลายในอุตสาหกรรมพลาสติก เพื่อให้มีความอ่อนตัวและยืดหยุ่นได้ดี
✔ ใช้เป็นสารตั้งต้นทางปีโตรเคมีต่างๆ
✔ ใช้ฉีดพ่นเพื่อรักษาความสดใหม่ของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
✔ ใช้เป็นยาระบายเพื่อรักษาอาการท้องผูก

Glycerine” มีผลข้างเคียงจากการใช้หรือไม่?

แม้ กลีเซอรีน จะเป็นที่ยอมรับว่าปลอดภัยจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทั่วโลกแล้ว แต่การใช้ผลิตภัณฑ์จากเคมีภัณฑ์ใดๆ ย่อมมีโอกาสเกิดการแพ้ได้เสมอ ฉะนั้นหากคุณใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี Glycerine เป็นส่วนประกอบแล้วเกิดอาการคันหรือมีผื่นแดงขึ้นให้หยุดใช้ทันที และอย่างที่กล่าวไปในข้างต้นว่าหากโลชั่นบำรุงผิวที่ผสม กลีเซอรีน ที่มากเกินไปก็อาจจะทำให้ผิวแห้งและเกิดอาการระคายเคืองได้ หรือที่แย่กว่านั้นก็คือ อาจทำให้เกิดแผลพุพองได้เลยนั่นเอง

และหากคุณคือผู้ที่ใช้ Glycerine เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ทุกครั้งที่ใช้ผสมกับส่วนประกอบต่างๆ ระวังอย่าให้เข้าตาและปาก ซึ่งถ้าคุณสัมผัสกับ กลีเซอรีน โดยตรง ขั้นแรกให้ล้างหน้าด้วยน้ำเย็นจากนั้นใช้สำลีหรือทิชชู่ แล้วซับบริเวณที่สัมผัสกับสารเคมีชนิดนี้เบาๆ แล้วล้างได้น้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง

และนี่คือประโยชน์จาก Glycerine ในอุตสาหกรรมของอาหาร เครื่องดื่มและเครื่องสำอาง สำหรับนำมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ที่มีทั้งแบบเป็นสารสกัดจากไขมันสัตว์และไขมันจากพืช หากคุณกำลังมองหา กลีเซอรีน คุณภาพเยี่ยม ปลอดภัยและผ่านมาตราฐานการยอมรับจากสถานบันต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งUSP/EP (United States Pharmacopeia, European Pharmacopeia), อย. และ ฮาลาล รวมถึงวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ต่างๆ สำหรับอุตสาหกรรมของคุณ บริษัท พี.ไว จำกัด คือบริษัทผู้นำเข้าและจำหน่ายเคมีภัณฑ์ที่มีมาตรฐานและการใช้งานที่มีความหลากหลาย

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://pwai.co.th/
ออฟฟิศ: 02-938-0515-6 / 02-513-8398 / 02-513-2639 / 02-512-2111
อีเมล: sales@pwai.co.th
Line@: @pwaishop