Propylene Glycol

Propylene Glycol คืออะไร ปลอดภัยสำหรับมนุษย์หรือไม่?

Propylene Glycol คืออะไร ปลอดภัยสำหรับมนุษย์หรือไม่?

Propylene Glycol เคมีภัณฑ์ที่สำคัญเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เพื่อความสวยความงาม รวมถึงใช้เป็นตัวผสมแต่งสีและกลิ่นในอาหารหลายชนิด

Propylene Glycol

ถึงแม้ว่าในชีวิตประจำวันของเราจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า เคมีภัณฑ์มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับมนุษย์แทบจะทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไม่สอยทั้งอุปโภคบริโภคมักจะมีสารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นส่วนประกอบอยู่เสมอ… ดังนั้นในการผลิตสิ่งใดก็ตามที่มนุษย์ต้องสัมผัสหรือเพื่อได้ใช้ประโยชน์ จึงต้องมีการแยกประเภทของสารเคมีที่อันตรายและไม่อันตราย วิธีใช้งานหรือปริมาณของสารเคมีที่ปลอดภัยกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ที่นับเป็นผลกระทบต่อมนุษย์ทางอ้อมด้วยเช่นเดียวกัน อย่างเช่น เคมีภัณฑ์ที่เรียกว่า Propylene Glycol (โพรพิลีน ไกลคอล) ที่นิยมนำมาผสมกับผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้กับร่างกายมนุษย์แทบจะทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสำอาง, น้ำหอม, ครีมบำรุงผิว, ครีมทาใบหน้า, ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่น รวมไปถึงการนำไปใช้ผสมกับอาหารหรือเครื่องดื่มหลายชนิดได้อีกด้วย

Propylene Glycol (โพรพิลีน ไกลคอล) คืออะไร?

เคมีภัณฑ์ที่เป็นสารทำลละลายชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับแอลกอฮอล์ เป็นของเหลวใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีรสหวานเล็กน้อย เกิดจากการสังเคราะห์โดยทำปฏิกิริยาระหว่าง Propylene Oxide กับน้ำ นิยมนำมาใช้เป็นตัวทำละลายเพื่อเจือจางน้ำหอมและในเครื่องสำอางหรือครีมบำรุงผิวหลากหลายชนิด เพราะมีรสหวานในบางครั้งจึงนำ Propylene Glycol มาใช้เป็นตัวผสมแต่งสีและกลิ่นในอาหารและเครื่องดื่มหลายชนิด รวมถึงใช้เป็นส่วนผสมในยาแก้ไอและยาน้ำสำหรับเด็ก เป็นต้น

นอกจากนั้นยัง สามารถนำสารเคมีชนิดนี้ไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมยานยนต์ คือใช้เป็นสารป้องกันการแข็งตัวของแอร์รถยนต์, นำไปผลิตแคมซูลบรรจุยา หรือแม้กระทั่งนำ Propylene Glycol เป็นตัวทำให้เกิดฟองที่ผสมในเค้กหรือเป็นต้นที่ช่วยดูดความชื้นของขนมอบกรอบในอุตสาหกรรมอาหารได้อีกด้วย

รู้หรือไม่? โพรพิลีน ไกลคอล ยังมีชื่ออื่นๆ ที่รู้จักกันอีกหลายชื่อ เช่น

  • Propanediol (โพรเพนไดออล)
  • Dihydroxypropane (ไดไฮดร็อกซีโพรเพน)
  • Methyl Ethyl Glycol (เมทิล เอทิล ไกลคอล)
  • Trimethyl Glycol (ไตรเมทิล ไกลคอล)

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

เมื่อ Propylene Glycol สามารถนำไปผสมยา อาหารและเครื่องดื่มให้มนุษย์รับประทานได้ ก็หมายความว่าเป็นสารเคมีที่ปลอดภัยกับชีวิตมนุษย์ใช่หรือไม่?

คำตอบก็คือใช่และก็ไม่ใช่! แม้จะได้การรับรองจากหน่วยงานด้านอาหารของสหรัฐอเมริกาและยุโรปอย่าง (FDA), (GRAS) และ (8Trusted Source) แล้ว ว่าปลอดภัยสำหรับใช้ในอาหารและเครื่องดื่มได้ แต่ก็ขึ้นชื่อว่าสารเคมีแล้ว มันก็อดให้หลายคนยังเป็นกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยอยู่ ยิ่งหนึ่งในการใช้งานที่สามารถเอามาใช้เป็นสารป้องกันการแข็งตัวในเครื่องทำความเย็นหรือแอร์ของรถยนต์ด้วยแล้ว ก็ยิ่งสร้างความกังวลว่าจริงๆ แล้ว Propylene Glycol นี้ เมื่อนำไปใช้กับอาหารการกินของมนุษย์แล้วส่งผลกระทบด้านสุขภาพในระยะยาวหรือไม่ นั่นเอง

ความจริงแล้วเคมีภัณฑ์ชนิดนี้ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งานคือ

  1. Propylene Glycol เกรดสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม : การใช้งานของสารเคมีชนิดนี้ในอุตสาหกรรมมีด้วยกันหลากหลายส่วน เช่น
    • ใช้ในการผลิตเรซิ่น, โพลิอีเทอร์ และอีพ็อกซี่เรซิ่น ฯลฯ
    • ใช้เป็นสารละลายที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพหรือปรับปรุงสมบัติของผลิตภัณฑ์ให้สามารถทนสภาพอุณหภูมิสูงหรือต่ำกว่าปกติได้
    • ใช้สำหรับการสังเคราะห์สารอินทรีย์ และสารขจัดน้ำ
    • ใช้เป็นสารเคมีตัวกลางสำหรับยาฆ่าแมลง
  2. Propylene Glycol เกรดสำหรับใช้ในอาหาร : ซึ่งโพรพิลีน ไกลคอล แบบฟู้ดเกรดได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของอเมริกา (FDA) แล้วว่า สามารถนำมาผสมกับอาหารและเครื่องดื่มของมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย โดยอนุญาตให้ใช้ได้ในปริมาณ (34 มก./กก.) ต่อวัน หรือสามารถเปรียบเทียบง่ายๆ ว่า หากคุณมีน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม ก็สามารถบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ Propylene Glycol ได้ 213 กรัมต่อวันฉะนั้นจึงหมดกังวลเรื่องความอันตรายไปได้เลยสำหรับโพรพิลีน ไกลคอล แบบฟู้ดเกรดนี้ ที่นิยมนำมาเป็นส่วนผสมอาหาร, เครื่องดื่มและสารอื่นๆ ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งในสินค้าอุปโภคและบริโภคได้ อาทิ
    • ใช้เป็นสารกันบูดและสารยับยั้งเชื้อราสำหรับอาหารและเครื่องดื่ม ที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาอาหารโดยปกป้องอาหารจากการเสื่อมสภาพที่เกิดจากออกซิเจน
    • ใช้เป็นสารป้งกันการจับตัวเป็นก้อน เพื่อไม่ให้ส่วนประกอบอาหารเกาะติดกันและจับตัวเป็นก้อน เช่น ในซุปผงหรือชีสขูด เป็นต้น
    • ใช้เป็นตัวทำละลายเพื่อแต่งกลิ่น สีและรสชาติในอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อช่วยให้มีสีสันและกลิ่นที่ดึงดูดใจให้ดูน่ารับประทานได้
    • ใช้เป็นสารที่ช่วยปรับเปลี่ยนแป้งและกลูเตนในแป้ง ให้มีความเสถียรภาพมากขึ้น
    • ใช้เป็นสารที่ช่วยป้องกันไม่ให้ส่วนผสมของอาหารแยกออกจากกัน เช่นในน้ำสลัดบางชนิด ก็จะผสม Propylene Glycol เพื่อไม่ให้น้ำมันและน้ำส้มสายชูแยกชั้นออกจากกัน เป็นต้น

    นอกจากนั้น โพรพิลีน ไกลคอล แบบฟู้ดเกรด ยังถูกนำมาใช้กับการผลิตเครื่องสำอาง ครีมบำรงผิวและน้ำหอมอีกด้วย โดยทำหน้าที่ดังนี้

    • ใช้เป็นหัวเชื้อหรือตัวทำละลาย เพื่อเจือจางน้ำหอม เครื่องสำอาง โลชั่นและผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย
    • ใช้เป็นสารเพิ่มความชุ่มชื้น สำหรับครีมบำรุงผิวต่างๆ
    • ใช้เป็นสารช่วยหล่อลื่นและลดความหนืด ในเนื้อครีมบำรุงผิวหรือเนื้อเจล

แล้ว Propylene Glycol มีผลกระทบกับมนุษย์บ้างหรือไม่?

มีผลงานวิจัยและทดลองมากมายที่พิสูจน์แล้วว่าโพรพิลีน ไกลคอล เป็นพิษกับมนุษย์น้อยมาก คือ ไม่พบว่าก่อให้เกิดมะเร็ง, ไม่ทำลายยีนส์และระบบพันธุกรรม และไม่มีรายงานการเสียชีวิตจากการบริโภค Propylene Glycol อีกด้วย (ที่มาของงานวิจัย) แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ประเภทอาหารที่มีส่วนผสมของเคมีภัณฑ์ชนิดนี้ มักเป็นอาหารประเภทแปรรูปเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการบริโภคอาหารแปรรูปในปริมาณมากๆ ก็อาจส่งผลกระทบกับสุขภาพร่างกายของคุณได้เช่นกัน

แต่มีงานวิจัยเกี่ยวกับ Reactions to Peroral Propylene Glycol ที่พบว่าสารเคมีชนิดนี้มีผลกระทบต่อระบบประสาท เมื่อกลุ่มทดลองบริโภคโพรพิลีน ไกลคอลในปริมาณ 2-15 มล./ครั้ง ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ แต่อการเหล่านี้จะหายไปภายใน 6 ชั่วโมง แม้จะดูน่ากลัวแต่ความจริงแล้วยาหลายชนิดที่คุณรับประทานมากเกินขนาดที่กำหนด ก็สามารถก่อให้เกิดอาการแบบนี้ได้เช่นกัน

American Contact Dermatitis Society ยกให้ Propylene Glycol เป็นสารก่อภูมิแพ้แห่งปี 2018 (ที่มา) โดยผลการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่าง 38 คน พบว่ามี 15 คนมีมีผื่นแดงขึ้นบริเวณใบหน้าหรือร่างกายหลังจากรับประทานอาหารและยาที่มีส่วนผสมของ โพรพิลีน ไกลคอล นอกจากนี้ยังพบว่าผู้มีผิวที่แพ้ง่าย มีโอกาสเกิดผิวหนังเสบได้เมื่อผิวหนังสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ที่มี Propylene Glycol ผสมอยู่ เช่น โลชั่นบำรุงผิวและแชมพู

ควรจัดเก็บ Propylene Glycol อย่างไรให้เหมาะสม

✔ ควรเก็บ โพรพิลีน ไกลคอล ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก โดยบริเวณนั้นควรมีอุณหภูมิไม่เกิน 37 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์ไม่ให้ต่ำกว่า 60%

✔ พื้นที่จัดเก็บควรติดตั้งอุปกรณ์ที่ป้องกันการรั่วไหล ความสูงของการวางซ้อนกันของบรรจุภัณฑ์ไม่ควรเกิน 2 เมตร และควรมีชั้นกันกระแทกที่ด้านล่างของบรรจุภัณฑ์และปิดฝาให้มิดชิด

✔ ควรเก็บให้ห่างจากแหล่งจุดไฟและความร้อน และห้ามใช้อุปกรณ์ทางกลและเครื่องมือที่ก่อให้เกิดประกายไฟได้ง่าย ในพื้นที่จัดเก็บ

แม้ว่าจะยังมีปรากฏการณ์ของผลกระทบที่ได้รับจาก Propylene Glycol เรื่องการแพ้และระคายเคืองผิวหนังอยู่บ้าง แต่ก็ถือว่าเคมีภัณฑ์ประเภทนี้ยังมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งอุตสาหกรรมอาหาร ยา และเครื่องสำอางสำหรับมนุษย์ได้อยู่นั่นเอง

หากคุณกำลังมองหาวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็น Propylene Glycol หรือสารเคมีชนิดอื่นๆ สำหรับอุตสาหกรรมของคุณ บริษัท พี.ไว จำกัด คือบริษัทผู้นำเข้าและจำหน่ายเคมีภัณฑ์ที่มีมาตรฐานและการใช้งานที่มีความหลากหลาย

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://pwai.co.th/
ออฟฟิศ: 02-938-0515-6 / 02-513-8398 / 02-513-2639 / 02-512-2111
อีเมล: sales@pwai.co.th
Line@: @pwaishop