ประโยชน์ของเคมีภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน

ประโยชน์ของเคมีภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน

ตระหนักถึงคุณประโยชน์และโทษของการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน

เชื่อหรือไม่? ว่าในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น มีส่วนเกี่ยวข้องและต้องสัมผัสกับสารเคมีหรือเหล่าเคมีภัณฑ์มากมาย… รู้แล้วก็น่าจะดูเป็นน่าอันตรายก็จริง แต่อย่าได้ตกใจไปเลย เพราะสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ นั้นมีประโยชน์กับชีวิตของเรามากมายจนคุณอาจคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

คำว่า เคมีหรือเคมีภัณฑ์นั้น ความจริงแล้วมีทั้งแบบสังเคราะห์และแบบสกัดจากธรรมชาติที่มีความปลอดภัยมากพอสำหรับข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์

ในบทความนี้ เราจะขอแบ่งประเภทประโยชน์จากสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ที่เราใช้กันโดยทั่วไปออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ

1. สารเคมีภัณฑ์ที่ใช้ทำยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์

ปฏิเสธไม่ได้ว่า นับตั้งแต่โลก ของเราต้องเจอวิกฤติของโรคระบาด วิถีชีวิตของเราก็ต้องสัมผัสกับเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นยาหรือการใช้แอลกอฮอล์จนกลายเป็นของใช้ในชีวิตประจำวันไปแล้ว ซึ่งสารเคมีที่มักถูกใช้เพื่อการทำยาและแอลกอฮอล์เพื่อฉีดพ่นฆ่าเชื้อต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น

  • Acetone (อะซิโตน) เป็นสารตัวทำละลาย ซึ่งสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น
    น้ำยาล้างเล็บ, ใช้ในอุตสาหกรรม พลาสติก ไฟเบอร์ และนำไปใช้ประกอบเพื่อเป็นยาบางชนิดอีกด้วย
  • Isopropyl Alcohol (ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์) นำไปใช้เป็นแอลกอฮอล์สำหรับใช้ล้าง
    แผล มีกลิ่นฉุน มักใส่สีฟ้าเพื่อให้แยกความแตกต่างระหว่างน้ำ ไม่สามารถรับประทานได้ มีความสามารถในการฆ่าเชื้อโรคบริเวณบาดแผลได้เป็นอย่างดี
  • Ethyl Alcohol (เอทิลแอลกอฮอล์) หรือ Ethanol (เอทานอล) เป็นแอลกอฮอล์
    ที่มีลักษณะใส ไม่มีสีและกลิ่น สามารถรับประทานได้ แต่ติดไฟง่าย ซึ่งได้จากกระบวนการหมักกับวัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น ข้าว, ข้าวโพด, อ้อย, มันสําปะหลัง ฯลฯ นำมาหมักกับยีสต์ จนได้เป็นเอทิลแอลกอฮอล์

ในปัจจุบันนี้ที่มีการระบาดของโรคโควิด 19 จึงมีความต้องการนำ Ethyl Alcohol มาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น สำหรับฉีดพ่นทำความสะอาดมือและสิ่งของต่าง ๆ เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนที่จะนำมามือหรือสิ่งของมาสัมผัสกับใบหน้า ตา จมูกและปาก

Ethyl Alcohol สามารถแบ่งลักษณะการนำไปใช้งานตามปริมาณเปอร์เซ็นต์ของแอลกอฮอล์ ดังนี้

  • เอทิลแอลกอฮอล์ 99% : เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ระดับ Pharma Grade และ Food
    Grade มีคุณภาพและความปลอดภัยสูง สามารถรับประทานได้ ฉะนั้น Ethyl Alcohol ชนิดนี้จึงถูกนำมาใช้ทางการแพทย์ การผลิตยารักษาโรคต่าง ๆ
  • เอทิลแอลกอฮอล์ 95% : เป็นแอลกอฮอล์ Commercial Grade ที่แม้จะไม่สามารถรับ
    ประทานได้ แต่ก็ไม่ได้มีผลร้ายแรง เมื่อสัมผัสกับผิวภายนอกของร่างกายมนุษย์ ซึ่งแอลกอฮอล์ชนิดนี้ นิยมนำมาใช้ในการทำสเปรย์ฉีดพ่นทำความสะอาด เป็นต้น
  • เอทิลแอลกอฮอล์ 70% : เป็นปริมาณที่เหมาะสมที่สุดในการใช้ทำความสะอาดและฆ่า
    เชื้อโรค เนื่องจากอัตราการระเหยที่เหมาะสมไม่เร็วจนเกินไป ทำให้สามารถฆ่าเชื้อโรคได้มีประสิทธิภาพที่สุด

ซึ่งหากคุณกำลังสงสัยว่าความแตกต่างของ Isopropyl Alcohol (ไอโซโพรฟีล) และ Ethyl Alcohol รวมถึงประโยชน์ของการใช้งานต่างๆ อย่างละเอียดแล้วล่ะก็ คุณสามารถอ่านบทความ รู้จัก Isopropyl Alcohol แตกต่างจาก Ethyl Alcohol อย่างไร ได้ที่นี่

  • Trichloroethylene เป็นตัวทำละลายไขมัน ขี้ผึ้ง เรซิน น้ำมัน ยาง สี น้ำมันเคลือบเงา
    และ เซลลูโลส สามารถนำมาใช้ผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรมบางชนิดได้
  • Toluene ใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมเคมีหลายชนิด รวมถึงยารักษาโรคบางชนิด
    ด้วย

2. สารเคมีภัณฑ์ที่ใช้ทำอาหารและเครื่องดื่ม

นอกจากความอร่อยที่มาจากวัตถุดิบตาม ธรรมชาติต่าง ๆ แล้ว บางครั้งเพื่อความสวยงามและกลิ่นที่แตกต่าง และรสชาติที่มีความเฉพาะตัวของอาหารและเครื่องดื่ม ก็อาจจะต้องอาศัยสารเคมีสังเคราะห์ต่าง ๆ ที่ช่วยเพิ่มเสน่ห์และมิติในมื้ออร่อยของคุณ อาทิ

  • Ethyl Alcohol 99% เนื่องจากแอลกอฮอล์ชนิดนี้ เป็น Food Grade มีความปลอดภัย
    สูงสามารถใช้รับประทานได้ จึงนิยมนำมาใช้ปรุงอาหาร หรือทำเป็นเครื่องดื่ม เช่น เหล้า เบียร์ วอดก้า สุราต่าง ๆ เป็นต้น
  • Glycerine (กรีเซอรีน) หลายคนอาจจะคุ้นสารเคมีภัณฑ์ชนิดนี้กับการเป็นสารในการทำ
    สบู่เหลว แต่รู้หรือไม่ว่า กลีเซอรีนถูกใช้เป็นส่วนผสมอาหาร ได้หลากหลาย เช่น สารเพิ่มความหวาน, ลูกอม, เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับอาหาร, ทำให้อาหารมีความเงางาม และ เป็นส่วนผสมในสุราสำหรับปรุงอาหารได้อีกด้วย
  • Methylene Chloride (เมทิลีนคลอไรด์) สามารถละลายสารประกอบอินทรีย์ได้หลายชนิด จึงเป็นตัวทำ
    ละลายที่มีประโยชน์มากในหลาย ๆ กระบวนการทางเคมี และในอุตสาหกรรมอาหาร เมทีลีน คลอไรด์ สามารถใช้ในการสกัดคาเฟอีนจากกาแฟ และใช้ผลิตสารปรุงแต่งกลิ่นหรือรส ได้อีกด้วย

3. สารเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับของใช้ส่วนตัวประจำวันต่าง ๆ และเครื่องสำอาง

ความจริงแล้ว ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันและเครื่องสำอาง นับเป็นสารเคมีที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับคนทั้งหญิง-ชายเป็นพิเศษ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

จากสถิติของ greenery.org พบว่า “เฉลี่ยแล้วสาว ๆ ทาลิปสติกกันถึง 730 ครั้งต่อปี พบว่าในแต่ละวัน อาจบริโภคลิปสติกมากถึง 87 มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ 31.75 กรัมต่อปี “ ที่มา : (https://www.greenery.org/articles/ediblelipstick/)

นี่แค่เฉพาะลิปสติกที่เป็นเพียงอย่างหนึ่งของหมวดเครื่องสำอางเท่านั้น เรายังไม่ได้กล่าวถึงบรรดาครีม เซรั่ม สบู่ แชมพู ยาสีฟัน มาสคาร่าฯลฯ ที่สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเคมีภัณฑ์ที่สัมผัสกับชีวิตของเราเกือบทุกวัน ทั้งสิ้น

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ซึ่งสารเคมีภัณฑ์ที่ถูกนำมาใช้ในกลุ่มเครื่องสำอางและข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น มีดังนี้คือ

  • Ethyl Alcohol 95% อย่างที่เราได้กล่าวไปในข้างต้นว่าแอลกอฮอล์ชนิดนี้นิยมนำมา
    ใช้เป็นสเปรย์เพื่อฉีดพ่นฆ่าเชื้อ ทำความสะอาดอวัยวะภายนอกร่างกายได้ ซึ่งในกลุ่มเครื่องสำอางก็เช่นกัน โดยเอทิลแอลกอฮอล์นั้นถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางบางชนิดที่ช่วยให้เครื่องสำอางติดผิวดีขึ้น, ทำความสะอาดผิว หรือชะล้างสิ่งสกปรกและไขมันบนผิวหน้า เป็นต้น
  • Propylene glycol (โพลพิลีน ไกลคอล) ส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้เป็นเป็นตัวทำละลาย
    เพื่อเจือจางน้ำหอม หรือในเครื่องสำอางหลากหลายชนิด เช่น ครีมทาหน้า โลชั่นทาตัว ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นใต้วงแขน
  • Dipropylene glycol (ไดโพรพร็อพพิลีน ไกลคอล) ลักษณะการนำมาใช้งาน คล้าย ๆ
    กับ Propylene glycol คือเป็นตัวทำละลายในน้ำหอมและเครื่องสำอางบางชนิด นอกจากนั้นยังเป็นสารที่ช่วยหล่อลื่น ลดความหนืดให้เนื้อครีมหรือเจลมีความลื่นมากยิ่งขึ้น เป็นตัวช่วยกระจายกลิ่นน้ำหอมหรือdiffuser
  • N70 หรือ Sodium Lauryl Ether Sulphate (SLES) หรือ Sodium Laureth
    Sulphate เป็นสารลดแรงตึงผิว ซึ่งมักจะนำมาใช้ทำแชมพู หรือน้ำยาซักผ้า
  • Glycerine (กลีเซอรีน) เป็นสารเคมีภัณฑ์ที่ส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้เป็น สารหล่อลื่นเพื่อให้
    ยืดหยุ่น, สารป้องกันการแข็งตัวและสารทำละลายในเครื่องสำอางและสบู่เหลว เป็นต้น นอกจากนั้นยังนำมาใช้เป็นสารให้ความชุ่มชื้น (Moisturizers) ในครีมทาบนใบหน้าหรือผิวกายที่เราคุ้นเคยอีกด้วย
  •  SLES เป็นสารเคมีภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติ เพราะเป็นสารเคมีที่สกัดเป็นสารประกอบที่เกิดจาก Fatty Alcohol จากมะพร้าว จึงมีความอ่อนโยนและมีความปลอดภัยสูง จึงสามารถนำมาใช้เป็นสารในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ล้างหน้า อาบน้ำ รวมไปจนถึงผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กทั่วไป เช่น แชมพูสระผม สบู่อาบน้ำ น้ำยาซักผ้าอีกทั้งยังใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบางชนิดอีกด้วย

 

คำว่า “สารเคมี” หลายคนฟังแล้วดูอันตราย แต่หากนำมันมาใช้ให้ถูกที่ ถูกวิธี และเลือกใช้ให้ปลอดภัยกับมนุษย์มากที่สุด เราจะเห็นได้ว่า สารเคมีภัณฑ์บางชนิดที่เราต้องสัมผัสและใช้มันเป็นประจำเกือบทุกวัน สามารถสร้างคุณประโยชน์กับเราได้อย่างมากมายมหาศาล ผ่านข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่าง ๆ มากมาย

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีสารเคมีที่เป็นทั้งสารประกอบ สารตั้งต้น สารทำละลาย หรือสารหล่อลื่นที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรม เพื่อนำมาผลิตเป็นอุปกรณ์และสิ่งของต่าง ๆ ได้อีกมากมายที่เราจะขอกล่าวถึงในลำดับถัดไป

และหากคุณกำลังมองหาวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ที่มีความหลากหลายและมีคุณภาพ สำหรับอุตสาหกรรมของคุณ บริษัท พี.ไว จำกัด คือบริษัทผู้นำเข้าและจำหน่ายเคมีภัณฑ์ที่มีมาตรฐานและการใช้งานที่มีความหลากหลาย อาทิ อุตสาหกรรมสี, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, เหล็ก, ยาง, น้ำมันอุตสาหกรรม, สิ่งทอ, การพิมพ์, อาหาร, เครื่องดื่มและ เครื่องสำอาง เป็นต้น คลิกดูรายละเอียดเคมีภัณฑ์อื่น ๆ เพิ่มเติม เราคัดสรรเฉพาะสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตราฐานจากผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเท่านั้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับคู่ค้าทุกราย

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://pwai.co.th/
ออฟฟิศ: 02-938-0515-6 / 02-513-8398 / 02-513-2639 / 02-512-2111
อีเมล: sales@pwai.co.th
Line@: @pwaishop