Trichlorethylene

Trichloroethylene (ไตรคลอโรเอทิลีน) คืออะไร ใช้ประโยชน์อย่างไร

Trichloroethylene (ไตรคลอโรเอทิลีน) คืออะไร ใช้ประโยชน์อย่างไร

เจาะลึกข้อมูลเกี่ยวกับ Trichloroethylene

Trichlorethylene

สารประกอบทางเคมีที่ใช้กันทั่วไปในฐานะตัวทำละลายทางอุตสาหกรรม ที่เรียกว่า Trichloroethylene (ไตรคลอโรเอทิลีน) หรือที่เรียกแบบย่อๆ ในงานอุตสาหกรรมว่า TCE, Trichlor, Trike, Tricky และ Tri ซึ่งเป็นของเหลวใส ไม่มีสี ไม่ติดไฟ สามารถระเหยได้ในอากาศ และมีกลิ่นหอมหวานคล้ายคลอโรฟอร์ม (ตัวทำละลายและเป็นยาสลบชนิดหนึ่ง)

ในอดีต… เดิมทีมีการใช้ ไตรคลอโรเอทิลีน เป็นยาสลบและยาชาสำหรับการทำคลอดบุตร ที่ถูกพัฒนาโดย Imperial Chemical Industries ในสหราชอาณาจักรเพราะเชื่อว่ามีผลกระทบต่อตับน้อยกว่าคลอโรฟอร์ม แต่ต่อมาก็พบว่าการใช้ TCE มีผลทำให้เกิดสภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและเกิดความผิดปกติต่อระบบประสาท จนในปีค.ศ. 1956 จึงมีเลือกใช้ Halothane (ฮาโลเทน) เป็นยาชาและและสลบแทน เพื่อเป็นการลดการใช้งาน Trichloroethylene

โดยในปีค.ศ. 1980 มีหลายประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลกยกเลิกการใช้งานสารเคมีชนิดนี้ไป เพราะมีรายงานจากสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา ว่า TCE นั้นเป็นหนึ่งในสารเคมีที่อาจเป็นสารก่อมะเร็งได้ นอกจากนั้นยังพบปัญหาจาก ไตรคลอโรเอทิลีน ที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำบาดาลจนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการปลอดภัยของมนุษย์เมื่อได้บริโภคหรือสัมผัสกับสารเคมีชนิดนี้อีกด้วย

นอกจาก ไตรคลอโรเอทิลีน จะเป็นตัวทำละลายในการสกัดวัสดุอิทรีย์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังสามารถช่วยในการรขจัดคราบไขมันสำหรับชิ้นส่วนโลหะ ยิ่งไปกว่านั้นในสหรัฐอเมริกายังนำ Trichloroethylene เพื่อใช้ในการทำความสะอาดเครื่องยนต์ของจรวด (เฉพาะที่ใช้น้ำมันก๊าด) ซึ่งในระหว่างการยิงด้วยไฟฟ้าสถิต เชื้อเพลิงจาก RP-1 จะทิ้งคราบไฮโดรคาร์บอนและไอระเหยไว้ในเครื่องยนต์ การใช้ TCE ทำความสะอาดระบบเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ในจรวด ทั้งก่อนและหลังการทดสอบการยิงแต่ละครั้ง จะช่วยหลีกเลี่ยงการระเบิดระหว่างการควบคุมเครื่องยนต์ได้ นั่นเอง

Trichloroethylene (ไตรคลอโรเอทิลีน) กับการใช้งานในปัจจุบัน

ความก้ำกึ่งเรื่องความปลอดภัยว่า TCE หรือไม่? ในการใช้งานของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงใช้กับมนุษย์ในแง่มุมต่างๆ แต่ถึงกระนั้นคุณสมบัติจากสารเคมีชนิดนี้ก็ยังมีประสิทธิภาพที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ดี โดยเราจะขอแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้คือ

  1. ประโยชน์จาก Trichloroethylene ในการใช้งานภาคอุตสาหกรรม : TCE ถูกนำไปใช้ประโยชน์สำหรับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ ดังนี้คือ
    • เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรม : ไตรคลอโรเอทิลีน ซึ่งเป็นตัวทำละลายทางอุตสาหกรรมทั่วไปที่ผลิตในสหรัฐอเมริกาที่ประมาณ 130,000 เมตริกตันต่อปี เพราะ Trichloroethylene สามารถเป็นตัวทำละลายการสกัดที่มีประสิทธิภาพสำหรับอินทรีย์เคมีและผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม จึงถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปสิ่งทอเพื่อขจัดคราบฝ้าย ขนสัตว์และผ้าอื่นๆ ในฐานะตัวทำละลายทั่วไปหรือเป็นส่วนประกอบของตัวทำละลายผสม นอกจากนั้นสารเคมีชนิดนี้ยังถูกนำมาผสมกับกาว สารหล่อลื่น สี น้ำยาลอกสี เพื่อผลิตสิ่งต่างๆ ในภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย
    • เป็นตัวทำละลายเอนกประสงค์ : TCE สามารถใช้เป็นตัวทำละลายในการสกัดและการทำให้แห้งแบบไม่ใช้น้ำ เช่น การสกัดกาแฟ และการเป็นตัวทำละลายในกาว, สารหล่อลื่น, สี,ยาฆ่าแมลง และน้ำยาทำความสะอาดโลหะเย็น
    • ใช้สำหรับการชะล้าง : Trichloroethylene ถูกนำมาใช้เป็นน้ำยาทำความสะอาดและขจัดคราบไขมัน น้ำมันและจาระบี ที่ติดอยู่ในชิ้นส่วนโลหะ เช่น สังกะสี อลูมิเนียม ทองเหลือง ทองแดง และเหล็กกล้า เนื่องจากเป็นสารเคมีที่ใช้ชำระล้างไขมันที่มีประสิทธิภาพมาก จึงถูกนำไปใช้ในการล้างน้ำมันจากเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ในระหว่างการผลิตและการประกอบทางอุตสาหกรรม เพราะสามารถดึงน้ำมันจาระบีจากชิ้นส่วนโลหะได้เป็นอย่างดี
    • นำไปใช้ในการผลิตสารทำความเย็นและไฮโดรฟลูออโรคาร์บอนอื่นๆ : ไตรคลอโรเอทิลีน มาใช้ประโยชน์การนำไปใช้ในการผลิตสารทำความเย็นและไฮโดรฟลูออโรคาร์บอนอื่นๆ เนื่องจากมีคุณสมบัติเด่นในการถ่ายเทความร้อนสูงได้ในอุณหภูมิที่ต่ำ การใช้งานระบบทำความเย็นทางอุตสาหกรรมจำนวนมากจึงเลือกใช้ TCE นั่นเอง
    • ใช้ ไตรคลอโรเอทิลีน ในการกำจัดน้ำที่เหลือจากการผลิตเอทานอล 100%
  2. ประโยชน์จาก Trichloroethylene ในการใช้งานของผู้บริโภค : การใช้งาน TCE สำหรับผู้บริโภคส่วนใหญ่จะใช้เป็นตัวทำละลายในกาว, น้ำยาล้างสี, ของเหลวสำหรับแก้ไขเครื่องพิมพ์ดีด, ขี้ผึ้ง, เรซินและ เซลลูโลส ซึ่งมักนิยมนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และดูแลเฟอร์นิเจอร์ สเปรย์เคลือบศิลปะและงานฝีมือ และผลิตภัณฑ์ดูแลยานยนต์ เช่น น้ำยาทำความสะอาดเบรก, น้ำยาทำความสะอาดเครื่องมือ น้ำยาล้างสี กาวสเปรย์ และน้ำยาทำความสะอาดพรมและน้ำยาขจัดคราบต่างๆ เป็นต้น

Trichloroethylene (ไตรคลอโรเอทิลีน) มีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์อย่างไรบ้าง?

แม้สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา (Environmental Protection Agency: EPA) ได้ตีพิมพ์กฎเพื่อเสนอการห้ามใช้ Trichloroethylene ในปี ค.ศ. 2017 เพราะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพทั้งการใช้ในเชิงพาณิชย์ การกำจัดไขมันในน้ำยาทำความสะอาดเฉพาะจุกในการซักแห้ง รวมถึงการขจัดไขมันด้วยไอน้ำอีกฉบับในเวลาต่อมา แต่ในเดือนมกราคมปี ค.ศ. 2021 EPA ได้ถอนกฎเหล่านี้ทั้งหมดออกอย่างเป็นทางการ เนื่องจากผลจากการวิจัยที่ TCE ส่งผลให้เกิดมะเร็งตับและไตในหนูทดลอง ไม่สามารถบ่งบอกได้ถึงการก่อให้เกิดมะเร็งได้มนุษย์หากไม่รับรับสารเคมีนี้เป็นเวลานานๆ และมากพอ
(อ้างอิง : https://saferchemicals.org/get-the-facts/toxic-chemicals/tce-trichloroethylene/ )

ถึงอย่างไรก็ดี การได้รับสาร ไตรคลอโรเอทิลีน เป็นเวลานานๆ ก็อาจจะส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งในไต บางงานวิจัยก็มีรายงานว่าอาจจะเพิ่งความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองหรือมะเร็งตับได้ นอกจากนั้นการสูดดม Trichloroethylene เข้าไปก็อาจจะเกิดความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง จนเกิดอาการชาบริเวณใบหน้าหรือเกิดภาวะของหังใจเต้นผิดจังหวะได้อีกด้วย และหากมนุษย์ได้สัมผัสหรือสูดดมเข้าแบบเฉียบพลัน (ที่ไม่ใช่การดูแลของทางการแพทย์) จะมีอาการคล้ายกับการมึนเมาจากแอลกอฮอล์ โดยจะมีอาการปวดหรือเวียนศีรษะและอาจจะหมดสติได้

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

วิธีการใช้งาน Trichloroethylene ที่ปลอดภัยต้องทำอย่างไรบ้าง?

ผลกระทบของ TCE ต่อสุขภาพของมนุษย์นั้น ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของแต่ละการประกอบอาชีพ ดังนั้นผู้ที่ต้องใช้งานหรือมีความใกล้ชิดกับสาร ไตรคลอโรเอทิลีน จึงควรสวมอุปกรณ์ป้องกัน เพื่อลดการสัมผัสสารเคมีชนิดนี้โดยตรง นอกจากนั้นสภาพแวดล้อมบริเวณที่ปฏิบัติงานจะต้องเป็นที่ที่สามารถระบายอกาศได้ดี และแน่นอนว่าจะต้องไม่อยู่ใกล้แหล่งชุมชน

ส่วนข้อจำกัดในการใช้สารเคมีชนิดนี้ที่แนะนำสำหรับภาคอุตสาหกรรม มีความแตกต่างกันไปตามความเข้มงวดของแต่ละประเทศ เช่นในแคลิฟอร์เนียและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกำหนดขีดจำกัดการสัมผัสไว้ที่ 25 ppm (ภายในไม่เกิน 8 ชั่วโมง) แต่ประเทศออสเตรเลีย กำหนดใช้ใช้ได้ไม่เกิน 10 ppm (ภายใน 8 ชั่วโมง) และในประเทศไทยเองนั้น สามารถใช้ได้มากถึง 100 ppm (ภายใน 8 ชั่วโมง)
(อ้างอิง : http://www.chemtrack.org/chem-detail.asp?ID=02059&CAS=&Name=)

ข้อควรระวังและการเก็บรักษา Trichloroethylene

ควรเก็บ TCE ในภาชนะที่ปิดสนิท การเก็บสารเคมีชนิดนี้จะต้องเป็นที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เก็บในสถานที่ที่แห้งและเย็น เก็บให้ห่างจากความร้อนและแหล่งที่สามารถเกิดประกายไฟได้ง่าย รวมถึงความร้อนจากแสงแดด เมื่อใช้งานเสร็จให้ปิดฝาภาชนะที่บรรจุให้แน่นสนิททุกครั้ง

หากเกิดกรณีที่มีการรั่วไหลของสาร ไตรคลอโรเอทิลีน นอกจากผู้ปฎิบัติงานที่ใกล้ชิดกับสารเคมีจะต้องใส่ชุดและอุปกรณ์ป้องกันแล้ว ให้ย้ายผู้คนต่างๆ ออกไปอยู่ในบริเวณที่ปลอดภัย ซึ่งต้องเป็นพื้นที่ที่เหนือลมจากพื้นที่ที่มีสารเคมีหกหรือรั่วไหลอยู่ พร้อมกับเคลื่อนย้ายสิ่งของหรืออุปกรณ์ใดๆ ที่สามารถติดไฟได้ออกจากบริเวณนั้น โปรดสังเกตุพื้นที่โดยรอบว่าบริเวณนั้นมีดิน, ทรายหรือม่อระบาย ที่สามารถดูดซับหรือสารเคมีไหลลงไปได้หรือไม่ ถ้ามีให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทางรัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการ

ข้อควรปฏิบัติเมื่อผู้ใช้งานสัมผัสกับ Trichloroethylene

  • เมื่อสูดสารเคมีเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ : ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์และถ่ายเทได้สะดวก หากผู้ป่วยมีอาการหายใจไม่สะดวกหรือหายใจถี่ๆ ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจทันที (ห้ามผายปอดหรือเป่าลมหายใจลักษณะปากต่อปากเด็ดขาด!)
  • เมื่อสัมผัส ไตรคลอโรเอทิลีน ที่ผิวหนังหรือดวงตา : ให้ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปือนสารเคมีออก แล้วล้างผิวหนังด้วยสบู่และน้ำสะอาด ระวังอย่าให้สิ่งที่ปนเปือนสารเคมีชนิดนี้เข้าใกล้ไฟ เพราะอาจจะติดไฟและลุกไหม้อย่างรวดเร็วได้ หาก TCE กระเด็นเข้าตา ให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 15 นาที แล้วรีบไปพบแพทย์ทันที
  • เมื่อสาร Trichloroethylene เข้าทางปาก : ให้รีบบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดในปริมาณมากทันที แต่อย่าทำให้ผู้ป่วยอาเจียนออกมา พยายามทำให้ผู้ที่ได้รับสารเคมีตัวอุ่นอยู่ตลอดเวลาแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที หากมีอาการหายใจติดขัดให้รีบใช้เครื่องหายใจ

และนี่คือความหมาย ที่มา ประโยชน์ โทษและวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง ของสารเคมีชนิดหนึ่งที่มีความอันตรายสูง อย่าง ไตรคลอโรเอทิลีน หรือ TCE ที่คุณควรทราบก่อนการนำไปใช้งานทั้งในภาคอุตสาหกรรมหรือการใช้สำหรับผู้บริโภคโดยทั่วไป

หากคุณกำลังมองหา Trichloroethylene คุณภาพเยี่ยม ปลอดภัยและผ่านมาตรฐานการยอมรับจากสถานบันต่างๆ สำหรับอุตสาหกรรมของคุณ บริษัท พี.ไว จำกัด คือบริษัทผู้นำเข้าและจำหน่ายเคมีภัณฑ์ที่มีมาตรฐานและการใช้งานที่มีความหลากหลาย

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://pwai.co.th/
ออฟฟิศ: 02-938-0515-6 / 02-513-8398 / 02-513-2639 / 02-512-2111
อีเมล: sales@pwai.co.th
Line@: @pwaishop